วิธีกำจัดและป้องกันปรสิตภายนอก
วิธีกำจัดและป้องกันปรสิตภายนอก ทราบหรือไม่ว่า ปรสิตภายนอกในสุนัข ได้แก่ เห็บ หมัด เหา ไรขี้เรื้อนเปียก ไรขี้เรื้อนแห้ง และไรในหู เป็นต้น สุนัขอายุน้อยกว่า 1 ปี พบปรสิตภายนอกได้มากที่สุด เราจึงควรให้การป้องกันปรสิตเหล่านี้ตั้งแต่เขายังเล็กๆ ปรสิตภายนอกที่พบมากที่สุด คือ เห็บ เห็บมีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์ นำโรคสัตว์สู่คนได้อีกด้วย เห็บนําโรคที่สําคัญ เช่น พยาธิเม็ดเลือดซึ่งอาจก่ออันตรายถึงแก่ชีวิตสุนัขไ
น่ารู้จากกูรูเรื่องเห็บหมัด และ ปรสิตภายนอก
เห็บ
มักจะชอบตามพื้นที่ที่สุนัขออกไปทำ กิจกรรมนอกบ้าน เช่น ตามพื้นหญ้า สนามหน้าบ้าน หรือสวนสาธารณะ หากสุนัจถูกเห็บเกาะแล้ว การกำจัดเห็บอย่างรวดเร็วเป็นสิ่ง ที่สำคัญ เพราะเห็บเป็นพาหะของพยาธิเม็ดเลือดที่ก่อให้ เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตสุนัขได้
หมัด
แม้ว่าสุนัขจะพบหมัดเพียงไม่กี่ตัวบนตัว แต่ในสิ่งแวดล้อมที่สุนัขอาศัยอยู่อาจจะ มีตัวอ่อนหมัด หลบซ่อนอยู่เป็นจำนวน มาก (เบาะรองนอน พรม โซฟา) การรักษา การติดหมัดแก่ สุนัขเพียงครั้งเดียวไม่สามารถกำจัดหมัดออกไปจากบ้านได้ เลยทั้งหมด เพราะอีกไม่นานตัวอ่อนหมัดที่อาจจะยังอาศัย อยู่ภายในบ้านจะกลับขึ้นมาติดซ้ำบนตัวสุนัขอีก
เหา
สุนัขก็มีเหาได้เช่นกัน เหาจะอาศัยอยู่บน ตัวสุนัขตลอดชีวิต ไข่เหาจะยึดติดกับ เส้นขนไม่หล่นลงสูงพื้น การติดเหา จํานวนมากอาจทำให้ผิวหนังอักเสบ คันได้
ไรในหู
พบได้มากในลูกสุนัข ติดต่อกันได้โดย การสัมผัสตรง (close contact) หรือ ใช้ที่นอนร่วมกัน อาการของสุนัขที่ติด ไรในหู ขี้หูมักมีสีน้ำตาล สุนัขจะคันมากบางตัวอาจจะสะบัด ศีรษะ หรือ เกาหูจนเส้นเลือดฝอยแตก ทำให้หูบวมเนื่องจาก มีเลือดคั่งในหูต้องใช้การผ่าตัดแก้ไขช่วยระบายเลือดที่ คั่งออก
ไรขี้เรื้อนแห้ง
สุนัขทุกขนาดทุกอายุ สามารถติดไร ขี้เรื้อนแห้งได้ตลอดทั้งปี สามารถติดต่อ กันได้ผ่านทางการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น เครื่องมืออาบน้ำ ตัดขน หรือจากการสัมผัสกันโดยตรง ไรขี้เรื้อนแห้งจะฝังตัวอยู่บนชั้นบนของผิวหนัง ทำให้ผิวหนัง เป็นผื่นแดง ขนร่วง ข้อสังเกตคือ สุนัขที่ติดไรชนิดนี้มักจะมี คันอย่างรุนแรง ไรชนิดนี้สามารถติดสู่คนได้อีกด้วย
ไรขี้เรื้อนเปียก
เป็นไรที่เป็นปัญหาหลักในสุนัข โดยทั่วไป แล้วจะไม่ติดต่อสู่คน ลูกสุนัขมักพบ ขนร่วงเป็นวงบริเวณรอบตา ปาก ปลายงา แต่สุนัขมักไม่แสดงอาการคันเมื่อติดไรชนิดนี้ ยกเว้น ว่าได้รับเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน สุนัขที่โตแล้วก็มีโอกาสเป็น ได้โดยมักพบในสุนัขที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในรายที่ เป็นมากๆ ผิวหนังจะแดง หนาตัวและมีขนร่วงกระจายเป็น บริเวณกว้าง การักษามักใช้เวลานาน
เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย
- รักษาและป้องกันทันทีที่ทราบว่าสุนัขติดปรสิตภายนอก
- สำรวจเห็บ หมัด ทุกครั้งหลังจากพาเค้าออกไปเดินเล่น นอกบ้าน
- ปรึกษาสัตวแพทย์ ถ้าสุนัขแสดงอาการคันสะบัดหู เลีย ปลายเท้า หรือจนบ่อยๆ
- เมื่อมีตัวใดตัวหนึ่ง ติดเห็บหมัดหรือปรสิตภายนอกชนิดอื่นๆ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนที่จะเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ใดๆ ในการ รักษา
- ปฏิบัติตามข้อบ่งใช้ของผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดและปรสิต ภายนอกอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการ รักษาและป้องกัน
ปรสิตภายนอก
หลักการง่ายๆ กับการป้องกัน เห็บ หมัด ด้วยวิธีใหม่
A ควรป้องกันเห็บ หมัดให้กับสัตว์ เลี้ยงทุกตัวในบ้าน การให้ยาป้องกัน
B การป้องกันเห็บหมัด ทำได้ ตั้งแต่ลูกสุนัขอายุเริ่มทำวัคซีน (อายุประมาณ 8 สัปดาห์) ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กำจัด เห็บ หมัด ตามที่สัตวแพทย์ แนะนํา
C ผลิตภัณฑ์กําจัดเห็บหมัดชนิด กิน ที่มีรสชาติดี จะช่วยให้การป้อนยา เป็นเรื่องง่ายขึ้น