10 โรคที่สุนัขแก่ต้องระวัง

ปัญหาสุขภาพสัตว์เลี้ยง, สุนัข, หมา

10 โรคที่สุนัขแก่ต้องระวัง

10 โรคที่สุนัขแก่ต้องระวัง

โรคที่สุนัขแก่ต้องระวัง ที่เจ้าของอาจจะต้องพบเจอ แต่ไม่รู้จะจัดการอย่างไร อาการป่วยต่างๆเหล่านี้เป็นอาการหรือโรคที่สามารถพบเจอได้เมื่อสุนัขอายุเยอะขึ้น เช่น อาการหายใจแรง หอบหืด หรือ อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงต่างๆ สุดท้ายก็จะส่งผลไปถึงเรื่อง ไม่ยอมกินอาหาร ไม่ยอมขยับตัว และไม่ยอมเข้าสังคม

สุนัขแก่สูงวัยต้องระวังโรคอะไรบ้าง

โรคที่สุนัขแก่

พราะสุขภาพของสุนัขคือเรื่องสำคัญ แม้ว่าสุนัขจะเข้าสู่ช่วงอายุมากแล้ว หลายคนยังเห็นว่าแข็งแรงดี ภายนอกไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่ก็อย่าเพิ่งได้วางใจ เพราะบางครั้งภายในร่างกายของพวกเขาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอายุจนไม่เหมือนเดิม โดยปกติแล้วเราจะนับว่าสุนัขเข้าสู่ช่วงสูงวัยได้ตั้งแต่อายุ 6-7 ปี โดยเฉลี่ย เมื่อสุนัขเข้าสู่ช่วงนี้แล้วเราควรสังเกตพวกเขามากขึ้น เพราะว่าพวกเขาเริ่มมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ มากขึ้นนั่นเอง

โดยปกติแล้วสุนัขที่เข้าสู่ช่วงสูงวัยมักจะเชื่องช้าลง ไม่กระฉับกระเฉงหรือพลังงานล้นเหลือเหมือนเมื่อสมัยยังเป็นวัยรุ่น บางครั้งอาจจะพบว่าสุนัขเวลานอนต่อวันเพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในสุนัขสูงวัย แต่สัญญาณบางอย่างก็เป็นสิ่งที่เราควรระมัดระวังและใส่ใจมากขึ้น เช่น เบื่ออาหาร แน่นอนว่าเมื่อสุนัขอายุมากขึ้นย่อมมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคต่างๆ มากขึ้นด้วย ในสุนัขสูงวัยอาการผิดปกติต่างๆ อาจจะค่อยๆ เกิดขึ้นทีละน้อย ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเจ้าของที่ต้องคอยหมั่นสังเกต ถ้าเราสามารถพบอาการผิดปกติได้เร็ว ก็จะรักษาหรือป้องกันได้เร็ว ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้

โรคในสุนัขสูงวัยนั้นมีอยู่หลายโรค โดยในบทความนี้เราขอเลือกโรคที่พบได้บ่อยมาให้เจ้าของสุนัขทุกท่านได้รู้จักกัน เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะของโรค วิธีการรักษาและการป้องกันอย่างถูกต้อง

1. โรคไตวายในสุนัข (Renal Failure)

โรคไตถือว่าเป็นหนึ่งในโรคในหมาแก่ที่อันตรายและน่ากังวลที่สุดในบรรดาโรคภัยต่างๆ อย่างที่เราทราบกันดีว่าไตเป็นอวัยวะสำคัญในการกำจัดของเสีย ควบคุมระดับแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกายให้สมดุล ไม่ว่าจะเป็นโพแทสเซียม โซเดียม รวมทั้งน้ำในร่างกาย แต่เมื่อสุนัขแก่ตัวลง ความสามารถในการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ก็เริ่มลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น การศึกษาวิจัยของสหรัฐอเมริกาได้ระบุว่ากว่า 20% ของสุนัขแก่ที่มีอายุมากกว่า 5 ปีมักเจอปัญหาโรคไตจนนำไปสู่การสูญเสียในที่สุด โดยโรคไตหรือไตวายถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือไตวายเฉียบพลันและไตวายเรื้อรัง

อาการและวิธีการสังเกตุโรค : สิ่งที่น่ากลัวของโรคไตคือเจ้าตูบจะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ จนกว่าไตจะถูกทำลายไปกว่า 2 ใน 3 ของเนื้อเยื่อทั้งหมด โดยอาการที่มักแสดงออกจะมีดังนี้

  • เบื่ออาหาร แต่ดื่มน้ำเยอะ
  • ซีด ซึม อาเจียน
  • หมาฉี่บ่อยกว่าปกติ
  • น้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด
  • อุจจาระมีสีดำหรือมีเลือดปน
  • มีอาการชัก จากปริมาณของเสียในร่างกายที่มากเกินไป

วีธีการดูแลรักษา : ในกรณีที่เป็นภาวะไตวายเฉียบพลัน ถือว่าเป็นอันตรายและมีโอกาสการเสียชีวิตสูงมาก แต่หากพาไปพบหมอได้ทันท่วงทีก็สามารถรักษาให้หายและกลับมาเป็นปกติได้ อย่างไรก็ตาม สุนัขแก่ส่วนใหญ่มักเจอปัญหาป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งไม่สามารถรักษาให้กลับมาหายขาด แต่จะยังสามารถรักษาตามอาการโดยการพบสัตวแพทย์อย่างสม่ำเสมอ  รวมถึงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ดีขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่ต้องเป็นสูตรควบคุมปริมาณโปรตีนสำหรับหมาป่วยโรคไตโดยเฉพาะ และการเตรียมน้ำสะอาดให้น้องหมาดื่มได้ตลอดเวลา

2. โรคตาฝ้าฟางหรือต้อกระจกในสุนัข (Cataract)

โรคต้อกระจก คือการที่เลนส์ตามีความขุ่นมัวเป็นสีขาวหรือเหลือง ซึ่งจะทำให้การมองเห็นของสุนัขลดลง มีสาเหตุมาจากการเสื่อมตามวัยจากอายุที่มากขึ้นของสุนัข ส่วนมากพบในน้องหมาที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป หรืออาจเกิดจากกรรมพันธุ์ อุบัติเหตุ หรือโรคบางโรค โดยอาการของหมาตาเป็นฝ้า จะค่อยๆ แสดงให้เห็นผ่านพฤติกรรมของสุนัขที่มีความสามารถในการมองเห็นที่ลดลง 

  • อาการและวิธีการสังเกตุโรค
  • เดินชนสิ่งของ 
  • การตอบสนองช้าลง
  • มีฝ้าขึ้นที่ตาดำ
  • ไม่สามารถเดินขึ้นลงบันไดได้
  • อาจเกิดอาหารหงุดหงิด ก้าวร้าว

วีธีการดูแลรักษา : การรักษาโดยทั่วไปจะใช้ยาสำหรับหยอดตา เพื่อชะลอไม่ให้ฝ้าที่ตาขยายตัวมากขึ้น แต่จะไม่สามารถทำให้อาการต้อกระจกหายไปได้เป็นปลิดทิ้ง สำหรับกรณีที่เป็นมาก สัตวแพทย์อาจจะแนะนำให้ผ่าตัดสลายต้อกระจกและเปลี่ยนใส่เลนส์แก้วตาเทียมด้วยคลื่นความถี่สูง

(Phacoemulsification) ในส่วนของเจ้าของเอง อาจช่วยทำให้ชีวิตของหมาแก่ง่ายขึ้นโดยการเคลียร์บ้านให้สะอาดโล่ง เก็บสิ่งของที่เกะกะออก เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการเดินชนเพราะการมองเห็นไม่ชัดของน้องหมาครับ

3.โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงในสุนัข (Myasthenia Gravis)

โรคสุนัขขาไม่มีแรงเป็นอีกหนึ่งอาการไม่พึงประสงค์ที่มักพบได้ในสุนัขแก่ โดยสาเหตุหลักเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทสั่งการ จากการที่ร่างกายผลิต Antibody มาขัดขวางการรับสัญญาณสื่อประสาท นำไปสู่อาการไม่มีแรงคล้ายกับอัมพาต ทำให้สุนัขไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามใจต้องการ ในบางตัวไม่สามารถเดินหรือวิ่งเล่นได้เหมือนปกติ และบางตัวอาจมีปัญหาเรื่องการกลืนอาหาร จนนำไปสู่อาการสำลักได้

  • อาการและวิธีการสังเกตุโรค
  • ไม่สามารถกลืนอาหารไม่ตามปกติ 
  • กระพริบตาลำบาก
  • หายใจลำบาก
  • เสียงเห่าเปลี่ยนไป
  • กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ อ่อนแรง 

วีธีการดูแลรักษา : ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคหมาขาไม่มีแรงให้หายขาด แต่สัตวแพทย์จะจ่ายยากดภูมิเพื่อระงับการผลิต Antibody ออกมาเพิ่ม โดยน้องหมาอาจจะต้องทานยาไปตลอดชีวิตในกรณีที่อาการของโรคส่งผลต่อการเคี้ยวและกลืนอาหาร และเจ้าของควรใส่ใจสังเกตอาการของสุนัขอย่างสม่ำเสมอ

4.โรคเกี่ยวกับช่องปากและฟันในสุนัข (Periodontal Disease)

ปัญหาช่องปากไม่ใช่เรื่องเล่นๆ นะครับ โดยเฉพาะในสุนัขสูงอายุที่ถูกปล่อยปละละเลยเรื่องสุขภาพช่องปากมาอย่างยาวนาน มีจุดเริ่มต้นมาจากคราบพลัคที่สะสมจากแบคทีเรีย, น้ำลาย และเศษอาหารที่ติดค้างอยู่ในช่องปาก หากปล่อยไว้นานอาจเกิดการอักเสบเรื้อรัง เจ็บปวด และฟันหลุดได้ในที่สุด ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการกินอาหารของเจ้าหมาครับ

  • อาการและวิธีการสังเกตุโรค
  • กินอาหารน้อยลง
  • ไม่ค่อยเคี้ยวอาหาร
  • มีกลิ่นปากเหม็น 
  • เหงือกบวมแดง
  • เลือดออกตามเหงือก / ไรฟัน

วีธีการดูแลรักษา : ปัญหาโรคในช่องปากระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายได้โดยการขูดหินปูน และกำจัดแบคทีเรียต่างๆ ในช่องปาก แต่หากมีอาการของโรคที่ค่อนข้างรุนแรงและเรื้อรัง อาจต้องมีการวางยาสลบเพื่อทำศัลยกรรมรักษาเพิ่มเติม เจ้าของควรดูแลเรื่องความสะอาดของช่องปากสุนัข หมั่นแปรงฟัน หรือเลือกอาหารที่มีส่วนช่วยขัดฟัน รวมถึงพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อดูแลเรื่องสุขภาพโดยรวมเป็นประจำทุกปี

5. โรคหัวใจในสุนัข (Heart Diseases)

ภาวะหัวใจล้มเหลวคือหนึ่งปัญหาของโรคหัวใจที่ทำให้เจ้าของหลายๆ คนกลัว เกิดขึ้นจากการที่สุนัขแก่ตัวลงทำให้ความสามารถในการสูบฉีดเลือดลดลง ซึ่งส่งผลโดยตรงกับอวัยวะอื่นๆ ทั้งหมดในร่างกายที่จะไม่ได้รับเลือดมาหล่อเลี้ยงมากเพียงพอ จนนำไปสู่ภาวะระบบร่างกายล้มเหลวในที่สุด

  • อาการและวิธีการสังเกตุโรค
  • อ่อนแรง เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • ซึม ไม่ร่าเริงเหมือนเก่า 
  • หายใจหอบ
  • ไอแห้ง (โดยเฉพาะกลางคืน)
  • เบื่ออาหาร

วีธีการดูแลรักษา : หากสุนัขของคุณถูกวินิจฉัยเป็นโรคหัวใจ สัตวแพทย์จะให้ยารักษาโรคหัวใจ โดยเจ้าของจะต้องใส่ใจและดูแลอย่างใกล้ชิด ห้ามหยุดการให้ยาโดยพละการ เนื่องจากนั่นอาจทำให้การรักษาหยุดชะงักและมีอาการที่รุนแรงมากกว่าเดิม ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ หรือกิจกรรมที่ทำให้เหนื่อยง่าย

6. โรคมะเร็งและเนื้องอกในสุนัข (Dog Cancer)

เช่นเดียวกันกับมนุษย์ที่ไม่มีใครอยากถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง น้องหมาก็เช่นกันครับ แต่การควมคุมไม่ให้เกิดนั้นอยู่นอกเหนือความคาดหมาย โดยอาจเกิดจากหลายปัจจัยทั้งกรรมพันธุ์, อาหาร, วิถีชีวิต และชนิดของมะเร็งก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้เช่นกันครับ จริงๆ แล้วสุนัขทุกตัวมีโอกาสเกิดมะเร็ง แต่หากสุขภาพโดยรวมของน้องหมาแข็งแรงก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้หลายเท่า ปัจจัยเดียวที่เราสามารถควบคุมได้คือเรื่องของอาหารการกิน และสุขภาพจิตของสุนัข ควรใส่ใจเลือกอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักโภชนาการ ไร้สารแปลกปลอม 

  • อาการและวิธีการสังเกตุโรค
  • เบื่ออาหาร กลืนลำบาก
  • น้ำหนักลดลงอย่างเห็นได้ชัด
  • เกิดก้อนเนื้อใต้ผิวหนัง 
  • แผลหายช้า
  • ขับถ่ายผิดปกติ 
  • หายใจลำบาก มีอาการไอ สำลัก
  • มีเลือด/ของเหลวไหลออกมาจากรูทวาร

วีธีการดูแลรักษา : วิธีการรักษามะเร็งในสุนัขขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง และระยะของโรค ในการจะตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา สัตวแพทย์ต้องวินิจฉัยจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งอายุของสุนัข, ชนิดของมะเร็ง, ระยะของมะเร็ง และสุขภาพโดยรวมของเจ้าหมา โดยการรักษาอาจเป็นการผ่าตัด (Surgery), ใช้คีโม (Chemotherapy), การฉายแสง (Radiation Therapy) หรือแนวทางสมุนไพรบำบัด (Herbal Therapy) 

แน่นอนว่าหากเจ้าหมาแก่ของเราถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งแล้ว การรักษาถือว่ามีเปอร์เซ็นต์ให้หายขาดค่อนข้างน้อย เพราะฉะนั้นสิ่งที่เจ้าของควรทำคือหมั่นสังเกตความผิดปกติของอาการน้องหมา หรือหากมีโอกาสได้อาบน้ำสุนัขบ่อยๆ อย่าลืมสัมผัสดูความผิดปกติของร่างกายสุนัข หากจับแล้วพบก้อนเนื้อหรือตุ่มนูนเกิดขึ้น ขออย่ารอช้า ต้องรีบพาไปพบคุณหมอทันทีนะครับ

7. โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข (Canine Blood Parasites)

พยาธิเม็ดเลือดถือว่าเป็นปีศาจร้ายสำหรับสุนัขก็ว่าได้ครับ เพราะไม่ว่าเจ้าหมาจะอายุเท่าไหร่ จะเด็กหรือจะแก่ ก็มีโอกาสเผชิญหน้ากับโรคร้ายนี้ได้จากพาหะอันตราย คือ ‘เห็บหมัด’ ถ้าเทียบกันง่ายๆ โรคพยาธิเม็ดเลือดก็คล้ายๆ กับไข้เลือดออกในคนครับ เห็บจะเป็นตัวนำเชื้อโปรโตซัวจากหมาตัวหนึ่งสู่อีกตัวหนึ่ง และการกัดของเห็บเพียงแค่นิดเดียวก็สามารถส่งต่อเชื้อโรคได้แล้วล่ะครับ

  • อาการและวิธีการสังเกตุโรค
  • ไม่ร่าเริงเหมือนปกติ มีอาการซึม 
  • ไม่ยอมกินอาหาร หรือกินน้อยลง
  • มีไข้ ตัวร้อน
  • เหงือกซีด มีจ้ำตามตัว
  • ถ่ายเป็นเลือด (ขั้นรุนแรง)

วีธีการดูแลรักษา : ข่าวดีก็คือโรคพยาธิเม็ดเลือดสามารถรักษาให้หายขาดได้ครับ โดยการให้ยาฆ่าเชื้อ ยาลดไข้ และวิตามินบำรุงร่างกายเพื่อให้สุนัขฟื้นตัวได้ไว แต่ก็ยังต้องตรวจเลือดเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าค่าเกล็ดเลือดของน้องหมากลับมาอยู่ในระดับปกติ นอกเหนือจากนี้ยังต้องคอยระมัดระวังเรื่องเห็บหมัดไม่ให้กัดน้องหมาอีก เพราะต่อให้เคยเป็นโรคนี้แล้ว ก็ยังมีโอกาสกลับมาเป็นได้อีกครั้ง

8. โรคกระดูกและข้อเสื่อมในสุนัข

(Osteoarthritis or Degenerative Joint Disease)

สุนัขหลายๆ ตัวมักเจอกับปัญหากระดูกและข้อเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น โดยโรคที่เจอได้ง่ายในสุนัขแก่สายพันธุ์ใหญ่คือ ‘โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia)’ ที่เกิดจากความผิดปกติของข้อต่อที่อาจหลวมกว่าปกติจากการใช้งานอย่างหนักมาทั้งชีวิตที่ทำให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างกระดูกมากกว่าปกติ จนเกิดการสึกหรอและเกิดอาการเจ็บปวดในที่สุด 

  • อาการและวิธีการสังเกตุโรค
  • เริ่มทรงตัวไม่ได้ เดินเซ 
  • หมาขาไม่มีแรง
  • แสดงอาการเจ็บขาอย่างชัดเจน
  • ไม่ร่าเริง ไม่วิ่งเล่นเหมือนเก่า 
  • ลุกยืนลำบาก 

วีธีการดูแลรักษา : ในกรณีที่สุนัขมีอาการกระดูกและข้อเสื่อมไม่รุนแรง การรักษาขั้นต้นจะเป็นการให้ยาแก้อักเสบและลดปวดเพื่อบรรเทาอาการ ควบคู่กับแนะให้เจ้าของเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม ทางที่ดีเลือกอาหารสุนัขที่มีส่วนประกอบของสาร Glucosamine ที่จะช่วยต้านการอักเสบของโรคกระดูกและข้อโดยตรง และหากน้องหมาอาการดีขึ้นแล้ว ก็ควรให้น้องออกกำลังกายเบาๆ เพื่อลดน้ำหนัก อย่างการเดินเล่น หรือการว่ายน้ำ เป็นต้น รวมไปถึงการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง อีกทั้งยังลดอาการเจ็บได้อีกด้วย แต่ในกรณีที่อาการรุนแรงสัตวแพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดได้

9. โรคอ้วนในสุนัข (Obesity)

ผลวิจัยพบว่า สุนัขสูงอายุกว่า 40-45% มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และนั่นอาจนำไปสู่จุดเริ่มต้นของโรคภัยต่างๆ ยามแก่ ถึงแม้ตัวโรคอ้วนเองจะไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของสุนัข แต่นี่คือหนึ่งปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ,โรคข้อต่ออักเสบ, นิ่วในกระเพราะปัสสาวะ รวมไปถึงมะเร็งบางชนิดได้

อย่างที่เราเคยได้ยินคำเตือนกันนะครับว่า ‘อย่าให้สุนัขกินอาหารคน’ เพราะนอกจากสารอาหารที่จะได้ไม่ครบถ้วนแล้ว น้องหมาอาจจะยังได้รับพลังงานจากอาหารที่มากเกินไป สะสมจนกลายเป็นโรคอ้วนซึ่งอาจทำให้อายุขัยของน้องหมาสั้นลงได้ครับ

  • อาการและวิธีการสังเกตุโรค
  • คลำซี่โครงของสุนัขไม่พบ 
  • สุนัขมีน้ำหนักที่มากเกินมาตรฐาน 
  • มีปัญหาเรื่องการหายใจ เช่นหายใจแรงหรือนอนกรน 
  • เคลื่อนไหวร่างกายช้าลง นอนมากขึ้น 
  • ติดนิสัยขออาหารเพิ่ม ทั้งๆ ที่อิ่มแล้ว

วีธีการดูแลรักษา : สิ่งสำคัญในการรักษาโรคอ้วนของสุนัขเริ่มที่วิธีการเลี้ยงครับ เจ้าของควรระลึกไว้เสมอว่า หากเราสามารถแก้ที่ต้นเหตุได้ ก็จะช่วยลดปัญหาที่อาจตามมาของสุนัขแก่ การให้อาหารที่เหมาะสมและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอคือสิ่งสำคัญที่สุด ถึงแม้ผลลัพธ์จะไม่ได้แสดงให้เห็นในเวลาอันสั้น แต่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตน้องหมาตั้งแต่วันนี้ และใส่ใจเลือกอาหารสุนัขสูงอายุที่มีคุณภาพ จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆได้หลายเท่าเลยล่ะ

10. โรคเบาหวานในสุนัข (Diabetes)

โรคเบาหวานคือภาวะที่น้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินไปจากความผิดปกติของอินซูลิน ข้อน่ากังวลคือโรคนี้มักเกิดในสุนัขสูงอายุ การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะนำไปสู่ภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ จนทำให้การรักษานั้นยากขึ้นกว่าเดิมครับ 

  • อาการและวิธีการสังเกตุโรค
  • ดื่มน้ำบ่อยกว่าปกติ 
  • ปัสสาวะบ่อย
  • เบื่ออาหาร
  • เพลีย ไม่มีแรง
  • มีอาเจียนสำหรับสุนัขบางตัว 

วีธีการดูแลรักษา : เช่นเดียวกับมนุษย์ โรคเบาหวานในสุนัขก็ไม่สามารถหายขาดได้เช่นกัน แต่จะเป็นการควบคุมโรคโดยการให้อินซูลินอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมอาหารเป็นพิเศษ โดยเจ้าของต้องคอยพาน้องหมาไปพบคุณหมอตามนัด สังเกตอาการผิดปกติ รวมถึงฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของสัตวแพทย์

สุนัขแก่ต้องระวัง

สุดท้ายคืออย่าลืมคอยดูแลและให้ความรักกับเขาเหมือนเดิม แม้ว่าสุนัขจะอายุมากและอาจจะไม่กระฉับกระเฉงหรือมาอ้อนเราเก่งเหมือนกับสมัยตอนยังเด็กอีกแล้ว แต่เขาก็ยังรักและต้องการใช้เวลากับเราอยู่เหมือนเดิม มาบำรุงเขาให้แข็งแรงด้วยการให้อาหารที่มีสารอาหารเหมาะสมกับอายุ คอยหมั่นสังเกตความผิดปกติและพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์อยู่เสมอ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้ และช่วยให้เขาสามารถอยู่เล่นสนุกและสร้างประสบการณ์ดีๆ ร่วมกับเราได้อีกนาน

10 การฝึกสุนัขและแมวให้มีพฤติกรรมที่ดี

10 การฝึกสุนัขและแมวให้มีพฤติกรรมที่ดี

10 การฝึกสุนัขและแมวให้มีพฤติกรรมที่ดี สารบัญ10 การฝึกสุนัขและแมวให้มีพฤติกรรมที่ดี1. ฝึกการทำความสะอาด2. ฝึกการเดินรอบบ้าน3. ฝึกการยอมรับการตัดขน4. ฝึกการเล่นแบบสุขุม5. ฝึกการเชื่อฟัง6. ฝึกการเล่นกับเล่นแบบบ้านๆ7. ฝึกการตอบสนองกับการเข้ากับคนอื่น8....

read more
11 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกโรงพยาบาลสัตว์

11 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกโรงพยาบาลสัตว์

11 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกโรงพยาบาลสัตว์ สารบัญ11 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกโรงพยาบาลสัตว์1. ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์2. การบริการ3. ราคา4. มีที่ปรึกษา5. การรักษาความปลอดภัย6. การให้บริการอย่างเป็นระบบ7. สถานที่ใกล้บ้าน8. การให้ความรู้และการฝึก9. การให้บริการตลอด...

read more
สุนัขหรือแมว สัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับเด็ก

สุนัขหรือแมว สัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับเด็ก

สุนัขหรือแมว สัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับเด็ก สารบัญสุนัขหรือแมว สัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับเด็กสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสำหรับเด็ก1. ประเภทของสัตว์เลี้ยง2. ความต้องการ3. ค่าใช้จ่าย4. เวลาและความสะดวก5. กฎหมายและข้อกำหนด6. การดูแลสุขภาพ7. การเลี้ยงและการดูแล8....

read more
9 วิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัวของเรา

9 วิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัวของเรา

9 วิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัวของเรา สารบัญ9 วิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัวของเราการเตรียมพร้อมและการดูแลสัตว์เลี้ยงวิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัว1. เริ่มต้นที่ รักและความเข้าใจ2. การเริ่มต้นการฝึกสอนเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้3....

read more
ควรเลี้ยงสุนัขหรือแมว

ควรเลี้ยงสุนัขหรือแมว

ควรเลี้ยงสุนัขหรือแมว สารบัญควรเลี้ยงสุนัขหรือแมวการเลือกสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสมสำหรับคุณการเลือกสภาพแวดล้อมสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมจัดหาอุปกรณ์และอาหารเลือกสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสมกับสไตล์ชีวิตและบ้านสรุป...

read more
5 การเลี้ยงแมวอย่างถูกต้อง

5 การเลี้ยงแมวอย่างถูกต้อง

5 การเลี้ยงแมวอย่างถูกต้อง สารบัญ5 การเลี้ยงแมวอย่างถูกต้อง1. การเลือกอาหารที่เหมาะสม2. การให้น้ำ3. การให้สถานที่หรือพื้นที่ในการเดินเล่นและการฝึกฝน4. การทำความสะอาดสถานที่อยู่ของแมว5. การดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อม...

read more
10 การเลี้ยงสุนัขที่มีปัญหาสุขภาพ

10 การเลี้ยงสุนัขที่มีปัญหาสุขภาพ

10 การเลี้ยงสุนัขที่มีปัญหาสุขภาพ สารบัญ10 การเลี้ยงสุนัขที่มีปัญหาสุขภาพ1. ปรึกษาสัตวแพทย์2. การเลือกอาหารที่เหมาะสม3. การออกกำลังกาย4. การดูแลสุขอนามัย5. การสังเกตและระวังอาการผิดปกติ6. การให้ความรักและการติดต่อสัมพันธ์7. การเลือกอาหารที่เหมาะสม8....

read more
10 การฝึกสุนัขให้เป็นมิตรและมีวินัย

10 การฝึกสุนัขให้เป็นมิตรและมีวินัย

10 การฝึกสุนัขให้เป็นมิตรและมีวินัย สารบัญ10 การฝึกสุนัขให้เป็นมิตรและมีวินัย1. เริ่มต้นด้วยการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเราเอง2. ใช้การตัดสินใจที่เหมาะสม3. ให้การชี้แนะและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ4. การออกกำลังกาย5. การให้อาหารและน้ำดื่ม6. การเอาสุนัขไปเที่ยว7....

read more
8 วิธีดูแลแมวให้สุขภาพแข็งแรง

8 วิธีดูแลแมวให้สุขภาพแข็งแรง

8 วิธีดูแลแมวให้สุขภาพแข็งแรง สารบัญ8 วิธีดูแลแมวให้สุขภาพแข็งแรง1. ให้แมวอาหารที่เหมาะสม2. ให้น้ำเพียงพอ3. การดูแลสุขอนามัยของแมว4. การจัดสวนหรือการให้พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับแมว6. การทำความสะอาดตัวของแมว7. ตรวจสุขภาพและรักษาโรค8. การให้วิตามินและอาหารเสริม...

read more
6 วิธีดูแลสุนัขอย่างถูกต้อง

6 วิธีดูแลสุนัขอย่างถูกต้อง

6 วิธีดูแลสุนัขอย่างถูกต้อง สารบัญ6 วิธีดูแลสุนัขอย่างถูกต้อง1. การให้อาหารและการเลี้ยง2. การออกกำลังกาย3. การสังเกตพฤติกรรมและสุขภาพของสุนัข4. สิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมรอบตัวของสุนัข5. สุขภาพทางจิตและพัฒนาการของสุนัข6. การสร้างสัมพันธ์และความเชื่อมั่นกับสุนัข...

read more
5 เทคนิค ฝึกสุนัข ง่ายๆ

5 เทคนิค ฝึกสุนัข ง่ายๆ

5 เทคนิค ฝึกสุนัข ง่ายๆ สารบัญ5 เทคนิค ฝึกสุนัข ง่ายๆ1. ฝึกสุนัขให้สุนัขนั่งเริ่มการฝึกโดยสอนสุนัขให้รู้จักนั่งตามคำสั่งกล่าวชมเมื่อสุนัขนั่งลงเปลี่ยนรางวัลเป็นสัญญาณมือทำซ้ำจนกระทั่งสุนัขตอบสนองต่อคำสั่งทุกครั้ง2. สอนสุนัขให้คอยสอนสุนัขให้ "คอย"เริ่มฝึกสุนัขในท่า...

read more
สุนัขพันธุ์ไทย มีอะไรบ้าง

สุนัขพันธุ์ไทย มีอะไรบ้าง

สุนัขพันธุ์ไทย มีอะไรบ้าง สารบัญสุนัขพันธุ์ไทย มีอะไรบ้าง1.สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน2.พันธุ์บางแก้ว สุนัขสายพันธุ์ไทย สำหรับคำว่าสุนัขนั้น เป็นสัตว์เลี้ยงที่ อยู่คู่สำหรับใคร หลายคน ซึ่งเป็นความชอบ ในส่วนตัว ของแต่ล่ะคน ดังนั้น ความชอบของสุนัขนั้น มันมีจุดที่เรียกได้ว่า...

read more

สิวแมว รักษายังไงให้หาย

สิวแมว รักษายังไงให้หาย สารบัญสิวแมว รักษายังไงให้หายเมื่อแมวเป็นสิว  สัญญาณบอกว่าแมวเป็นสิว1. มองหาจุดดำเล็กๆ2. อะไรทำให้แมวเป็นสิวได้บ้าง3. ระวังอย่าให้สิวแมวติดเชื้อ4. สังเกตว่าคางแมวจับแล้วหนาๆ หยาบๆ หรือเปล่า.ตรวจให้แน่...

read more