ลูกหมาวัยซน ต้องดูแลยังไง

วิธีดูแลสัตว์เลี้ยง, สุนัข, หมา

ลูกหมาวัยซน ต้องดูแลยังไง

ลูกหมาวัยซน ต้องดูแลยังไง

ลูกหมาวัยซน ต้องดูแลยังไง เชื่อว่า หลายคนเลยที่พอเข้าปีใหม่แล้วก็หาน้องหมาตัวใหม่เข้ามาเป็นสมาชิกในครอบครัว ส่วนมากนิยมเลือกน้องหมาวัยกำลังซนมาดูแล ซึ่งช่วงวัยนี้บอกเลยว่า เราต้องคอยดูแลพวกเค้าเป็นพิเศษ ยิ่งถ้าเป็นมือใหม่ที่ไม่เคยเลี้ยงน้องหมามาก่อนแล้วด้วยก็ยิ่งต้องใส่ใจดูแลพวกเค้ามาก ๆ เลยน้า ลูกสุนัขวัยกำลังซนต้องได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดโรคต่าง ๆ ฝึกเข้าสังคมเพื่อสร้างเสริมนิสัยที่ดี และระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากความซุกซน

เตรียมความพร้อมก่อนนำลูกสุนัขมาเลี้ยงในบ้าน

1. จัดเตรียมสถานที่

ก่อนที่นำลูกสุนัขมาเลี้ยง เราควรเตรียมห้องไว้ซักห้องหรือหากไม่มีอาจเป็นมุมหนึ่งในบ้าน โดยมีสิ่งสำคัญคือต้องค่อนข้างเงียบ ไม่มีคนพลุกพล่านหรือเดินผ่านไปมาตลอดเวลาและสะอาด การจัดเตรียมพื้นที่ไว้เป็นสัดส่วนจะช่วยให้เราสามารถดูแลลูกสุนัขได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น

2. เตรียมที่นอนและอุปกรณ์จำเป็นต่างๆ

เราควรเตรียมที่นอนไว้ก่อนที่จะรับลูกสุนัขมาเลี้ยง ที่นอนของลูกสุนัขอาจจะเป็นตะกร้าปูด้วยผ้าขนหนูนุ่มๆ หรือจะเป็นที่นอนสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะที่ขายกันในร้านขายของสัตว์เลี้ยงเลยก็ได้ ร่างกายของลูกสุนัขยังควบคุมอุณหภูมิร่างกายตัวเองไม่ค่อยได้ จึงควรได้รับความอบอุ่นทันที หากในช่วงที่มีอากาศหนาวอาจจะต้องเพิ่มไฟกกเพื่อให้อุณหภูมิสุนัขไม่ลดต่ำมากเกินไป นอกจากนี้อุปกรณ์จำเป็นต่างๆ เช่น ขวดนมสำหรับสุนัข ซึ่งมีขนาดจุกนมที่ไม่ใหญ่เกินไป กรงแบบกระเป๋าเอาไว้พาลูกสุนัขไปหาหมอ และชามอาหาร ชามใส่น้ำ ก็ไม่ควรมองข้าม

3. เตรียมนมและอาหาร

อย่างแรกที่เราควรทราบเลยคือลูกสุนัขห้ามกินนมวัวเด็ดขาด โดยเฉพาะลูกสุนัขที่ยังไม่หย่านมเพราะว่าในน้ำนมวัวมีปริมาณสารอาหารที่ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตในลูกสุนัข และร่างกายลูกสุนัขบางตัวก็ไม่มีเอนไซม์ย่อยแลคโตสซึ่งเป็นน้ำตาลในน้ำนมวัวอีกด้วย จึงอาจทำให้ลูกสุนัขท้องเสีย รวมไปถึงนมผงสำหรับเด็ก นมกล่อง หรือนมข้นหวานก็ห้ามใช้เช่นกัน โดยเราควรเลือกเป็นน้ำนมทดแทนสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะแทน และอย่าลืมศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารลูกสุนัข 2 เดือน ไว้เตรียมพร้อมด้วย เพราะเป็นช่วงเวลาที่ลูกสุนัขเริ่มหย่านมและหัดกินอาหารเม็ดแล้วนั่นเอง

4. ประเมินเวลาและค่าใช้จ่าย

การเลี้ยงลูกสุนัขนั้นจำเป็นต้องมีเวลาดูแลค่อนข้างมาก หากตัดสินใจเริ่มต้นรับเลี้ยงลูกสุนัขแล้วเราอาจะต้องแบ่งเวลาหรือตกลงกับสมาชิกในบ้านมาผลัดกันดูแล นอกจากนี้เรื่องค่าใช้จ่ายก็สำคัญเช่นกัน บางคนอาจคิดว่าเลี้ยงสุนัขตัวเดียวไม่น่ามีอะไรมากหรอก แต่จริงๆ แล้วเราต้องเตรียมค่าใช้จ่ายทั้งเรื่องค่าอาหาร ค่าฉีดวัคซีน และอุปกรณ์จำเป็นต่างๆ เมื่อลูกสุนัขโตขึ้นด้วย

5. เตรียมตัวและเตรียมใจ

สุดท้ายก่อนที่เราจะเริ่มเลี้ยงลูกสุนัขซักตัวหนึ่ง เราต้องเตรียมตัวเองให้พร้อม อย่าลืมถามตัวเราก่อนว่าพร้อมดูแลเขาไปทั้งชีวิตหรือไม่ เพราะการเลี้ยงสุนัขเราต้องดูแลเขาไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต เพราะแบบนั้นเราจึงต้องตั้งใจจริงและดูแลเขาด้วยความรัก อย่างที่สุนัขเองก็มอบความรักให้กับเราเช่นกัน

ลูกสุนัขวัยกำลังซน ต้องดูแลเรื่องอะไรบ้าง?

1. เลือกชนิดของนมให้ถูกต้อง

หากเป็นไปได้ ควรเลือกนมทดแทนสำหรับลูกสุนัขโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายของสำหรับสัตว์เลี้ยงต่างๆ แต่ถ้าไม่สามารถหาได้จริงๆ ให้เลือกเป็นนมแพะแทน ส่วนนมที่ห้ามให้ลูกสุนัขกินเด็ดขาดเลย คือ นมวัว นมผงสำหรับเด็ก นมกล่องทุกชนิด และนมข้นหวานแบบต่างๆ การให้นมที่ไม่ถูกต้องจะทำให้ลูกสุนัขท้องเสีย ได้รับสารอาหารไม่เหมาะสม จนทำให้ร่างกายอ่อนแอและเสียชีวิตได้

2. เตรียมนมให้พร้อมก่อนป้อน

ลูกสุนัขแต่ละช่วงอายุต้องการนมในปริมาณที่แตกต่างกัน ดังนี้

– ลูกสุนัข อายุประมาณ 1 อาทิตย์ ต้องการนม 13 ซีซี ต่อวัน

– ลูกสุนัข อายุประมาณ 2 อาทิตย์ ต้องการนม 17 ซีซี ต่อวัน

– ลูกสุนัข อายุประมาณ 3 อาทิตย์ ต้องการนม 20 ซีซี/น้ำหนักตัว 100 กรัม ต่อวัน

– ลูกสุนัข อายุประมาณ 4 อาทิตย์ ต้องการนม 22 ซีซี/น้ำหนักตัว 100 กรัม ต่อวัน

โดยก่อนป้อนนมเราต้องอุ่นนมก่อนทุกครั้ง หากให้ลูกสุนัขกินนมเย็นจะทำให้ท้องเสียได้ น้ำนมที่ให้ควรมีอุณหภูมิประมาณ 35-37.8 องศาเซลเซียส และควรให้นมจากขวดนมสำหรับสุนัขเท่านั้นเพราะจุกของขวดนมทำมามีขนาดพอดีกับปากลูกสุนัขที่ไม่ใหญ่มาก หากใช้ขวดนมเด็กจะทำให้จุกมีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับลูกสุนัขได้

3. วิธีการป้อนนมลูกสุนัข

เริ่มต้นโดยจัดท่าลูกสุนัขให้ถูกต้อง ห้ามให้ลูกสุนัขนอนหงายเด็ดขาด ควรให้ลูกสุนัขนอนคว่ำแล้วหนุนบริเวณหัวให้สูงกว่าลำตัว แล้วให้ลูกสุนัขกินนมจากขวดนม วิธีนี้จะทำให้ลูกสุนัขกินนมง่ายได้มากที่สุด หลังให้นมแล้วสิ่งที่ต้องทำคือเช็กดูว่าท้องของลูกสุนัขขยายขนาดใหญ่เกินไปหรือไม่ ถ้าท้องขยายมากไปอาจแสดงว่าลูกสุนัขท้องอืด ควรพาไปพบสัตวแพทย์ ส่วนความถี่ของการให้นมลูกสุนัขนั้นขึ้นอยู่กับช่วงอายุ ยิ่งลูกสุนัขอายุน้อยยิ่งต้องให้นมบ่อยขึ้น ดังนี้

– ลูกหมาที่อายุประมาณ 2-3 วัน ต้องป้อนนมทุกๆ 2 ชั่วโมง

– ลูกหมาที่อายุประมาณ 4-7 วัน ต้องปอ้นนมทุกๆ 3 ชั่วโมง

– ลูกหมาที่อายุประมาณ 2 สัปดาห์ ต้องป้อนนมทุกๆ 4 ชั่วโมง

– ลูกหมาที่อายุประมาณ 3 สัปดาห์ขึ้นไป ต้องป้อนนม วันละ 4-5 ครั้ง

4. เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการหย่านม

ปกติแล้วลูกสุนัขจะหย่านมตอนอายุประมาณ 8 สัปดาห์ แต่ประมาณอายุ 6 สัปดาห์เราอาจจะเริ่มแนะนำอาหารเม็ดให้สุนัขได้ลองฝึกทานดูได้ โดยเริ่มต้นจากเอาอาหารเม็ดแช่น้ำอุ่นจนนิ่มหรือแช่นมแล้วให้ลูกสุนัขกินทีละน้อย แต่เนื่องจากร่างกายของลูกสุนัขช่วงนี้กำลังอยู่ในช่วงการเจริญเติบโต จึงต้องเลือกอาหารเม็ดที่มีคุณภาพและสารอาหารครบถ้วน ให้ลูกสุนัขของคุณได้รับประสบการณ์การกินอาหารเม็ดด้วย SUPERCOAT® (ซุปเปอร์โค้ท®) สูตรลูกสุนัข ที่ทำมาเพื่อลูกสุนัขโดยเฉพาะ

5. ฝึกให้เริ่มกินอาหารเม็ด

น้องหมาวัยกำลังซนส่วนมากจะมีอายุที่ประมาณ 7 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งช่วงวัยนี้ยังเป็นช่วงที่ยังไม่หย่านมแม่ แนะนำว่า ควรฝึกให้น้องหมากินอาหารเม็ดเพื่อที่จะให้เค้าเคยชิน กินอาหารเม็ดได้แบบไม่มีปัญหาในตอนโต ซึ่งการให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปนั้นดีต่อสุขภาพของน้องหมาเพราะพวกเค้าจะได้รับสารอาหารที่เหมาะต่อการเจริญเติบโต และการให้อาหารเม็ดก็ยังช่วยให้เราสามารถควบคุมปริมาณความต้องการที่เหมาะสมในแต่ละมื้ออาหารของน้องหมาได้ด้วย

โดยอาจจะเริ่มจากวิธีง่าย ๆ คือ ให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปสูตรสำหรับลูกสุนัขผสมกับนมแพะรสจืด จนกระทั่งอายุประมาณ 10-12 สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกสุนัขเริ่มหย่านมแล้ว อาจจะเริ่มปรับสูตรอาหารเม็ดให้ลูกสุนัขด้วยการนำอาหารเม็ดมาผสมกับไข่ต้ม(เอาเฉพาะไข่แดง) และนมแพะรสจืด โดยให้กินในปริมาณไม่ต้องมากนักวันละ 3-4 มื้อ เนื่องจากลูกสุนัขวัยนี้จะใช้พลังงานเยอะ กินเก่ง อยู่ในช่วงกำลังเจริญเติบโต หรือทางที่ดีอาจจะปรึกษาสัตวแพทย์ใกล้บ้านเพื่อขอคำแนะนำเรื่องโภชนาการอาหารที่เหมาะสมสำหรับลูกสุนัขแต่ละตัวก็ได้

6. ระวังอุบัติเหตุ

ลูกสุนัขอายุ 2-4 เดือนเป็นช่วงที่กำลังซนมาก ๆ จะกัดแทะสิ่งของต่าง ๆ เนื่องจากฟันกำลังขึ้น ทำให้พวกเค้ารู้สึกคันฟัน ชอบกัดแทะสิ่งของต่าง ๆ เช่น รองเท้า กัดมือ งับเท้าเจ้าของ หรือบางตัวก็อาจจะคาบสิ่งของต่าง ๆ มากัดเล่น ทำให้ต้องระวังเก็บข้าวของให้มิดชิดเพราะน้องหมาอาจจะเอาสิ่งของต้องห้าม เช่น หลอดยาสีฟัน สารเคมี หรือสิ่งของที่มีความแหลมคม มากัดแทะจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของพวกเค้าได้

รวมถึงควรระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากความซุกซน เช่น สิ่งของหล่นทับ วิ่งตกบันได ตัวติด วิ่งตกท่อ หรือวิ่งเล่นซนจนเกิดอุบัติเหตุรถชนได้จึงต้องคอยระมัดระวังให้ลูกสุนัขอยู่ในสายตาอย่างใกล้ชิด แนะนำให้ทำรั้วรอบขอบชิดเพื่อป้องกันอันตรายจะดีที่สุดนะ

นอกจากนี้แล้วน้องหมาเด็กเป็นวัยที่กำลังอยากเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว อยากทักทายกับผู้คนแปลกหน้า รวมถึงผูกมิตรกับน้องหมาตัวอื่น ๆ ซึ่งถ้าหากน้องหมาตัวอื่นมีนิสัยดุ ตัวใหญ่กว่าก็อาจจะเป็นอันตรายกับลูกสุนัข อาจะถูกกัดได้ ดังนั้น การให้ลูกสุนัขทำความรู้จักกับน้องหมาตัวอื่น ๆ ควรดูนิสัยน้องหมาที่จะพาเข้าหาเพื่อความปลอดภัย ป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายที่ไม่คาดคิดได้

7. พาพบคุณหมอ

น้องหมาวัยกำลังซุกซนที่ขาดไม่ได้คือการพาไปพบคุณหมอเพื่อทำวัคซีนป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งลูกสุนัขควรได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกเมื่ออายุ 6-8 สัปดาห์ขึ้นไป ไม่ควรพาน้องหมาที่อายุน้อยกว่านี้ไปทำวัคซีน เนื่องจากการเร่งฉีดวัคซีนให้น้องหมาเร็วเกินไป ระบบภูมิคุ้นกันของพวกเค้ายังทำงานไม่สมบูรณ์ การสร้างภูมิคุ้มกันจากวัคซีนจึงไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในช่วงอายุนี้ลูกสุนัขยังมีภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่สุนัขผ่านนมน้ำเหลืองที่ลูกสุนัขกินเข้าไปเมื่อ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอดอยู่แล้ว ดังนั้น รอให้น้องหมาอายุ 6-8 สัปดาห์ขึ้นไปจะดีที่สุดนะ

8. ฝึกเข้าสังคม พบปะผู้คน

น้องหมาที่มีอายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไปจะเริ่มมีความซุกซน อยากรู้จักผู้คนและสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ๆ ช่วงวัยนี้จึงเหมาะมาก ๆ ที่จะพาเค้าไปเริ่มต้นทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ แนะนำว่า ให้ฉีดวัคซีนให้กับลูกสุนัขก่อนแล้วค่อยพาไปทำความรู้จักกับผู้คนและสัตว์เลี้ยงที่มีนิสัยเป็นมิตร

การดูแลสุขภาพลูกสุนัข

ลูกหมาวัยซนดูแลยังไง

1. ฉีดวัคซีนและถ่ายพยาธิ

สิ่งที่สำคัญที่สุดของการดูแลสุขภาพลูกสุนัขคือการพาไปฉีดวัคซีนและถ่ายพยาธิตามกำหนด ในปัจจุบันเราสามารถพาลูกสุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป โดยคุณหมอจะเลือกโปรแกรมวัคซีนที่เหมาะสม และอย่าลืมไปตามนัดให้ได้ทุกครั้ง และไม่ควรฉีดวัคซีนเร็วกว่า 6 สัปดาห์ เพราะจะทำให้วัคซีนไม่ได้ผลและอาจส่งผลข้างเคียงต่อลูกสุนัขได้

2. เช็กน้ำหนักตัวลูกสุนัขอยู่เสมอ

ควรชั่งน้ำหนักตัวลูกสุนัขทุกวัน เพราะในช่วง 2–3 เดือนแรก ลูกสุนัขจะมีการเจริญเติบโตที่เร็วมาก น้ำหนักของลูกสุนัขควรเพิ่มขึ้นทุกวัน หากเช็กแล้วพบว่าลูกสุนัขน้ำหนักลดลง ให้ดูว่าลูกสุนัขได้รับอาหารเพียงพอหรือไม่ หากมีอาการเบื่ออาหารและซึมร่วมด้วยให้พาไปพบสัตวแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อไป

3. ระวังเรื่องร้อนหรือหนาวเกินไป

ในช่วง 1 เดือนแรก ร่างกายของลูกสุนัขยังปรับอุณหภูมิได้ไม่ดี ดังนั้นเราจึงต้องหมั่นตรวจว่าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมและในที่นอนเหมาะสมแล้วหรือไม่ อุณหภูมิที่ดีที่สุดคืออุ่นนิดๆ ประมาณที่เราใส่เสื้อยืดโดยไม่ร้อน หรือสังเกตอาการของลูกสุนัขก็ได้ ถ้าลูกสุนัขตัวสั่นแสดงว่ากำลังหนาว แต่ถ้าหูและลิ้นแดงขึ้นแสดงว่ากำลังร้อนเกินไป

4. ท้องเสียหรือถ่ายเหลว

อาการท้องเสียในลูกสุนัขถือเป็นเรื่องใหญ่ที่เราต้องให้ความสำคัญมากๆ หากพบว่าลูกสุนัขท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ มีกลิ่นเหม็น หรือมีมูกเลือดปน ให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันทีเพราะมีโอกาสที่ลูกสุนัขอาจจะติดเชื้อไวรัส มีพยาธิ หรือแพ้อาหารต่างๆ ได้ โดยเราต้องให้สัตวแพทย์เป็นผู้ตรวจและวินิจฉัยอย่างละเอียดอีกที ปัญหาท้องเสียในลูกสุนัขนั้นไม่ควรประมาทเพราะลูกสุนัขอาจจะเสียชีวิตได้เลย

การดูแลสุขอนามัยลูกสุนัข

1. ดูแลเรื่องการขับถ่ายให้ลูกสุนัข

ลูกสุนัขเกิดใหม่จะไม่สามารถขับถ่ายเองได้ โดยปกติแล้วแม่สุนัขจะช่วยเลียบริเวณก้นของลูกสุนัขเพื่อช่วยกระตุ้นการขับถ่าย แต่ในกรณีที่เราต้องดูแลเอง เจ้าของต้องช่วยเช็ดบริเวณก้นของลูกสุนัขก่อนและหลังให้อาหารทุกครั้งด้วยผ้าเนื้อนุ่มชุบน้ำอุ่นหมาดๆ เพื่อช่วยให้ลูกสุนัขขับถ่าย

2. ในช่วงแรกสุนัขยังไม่ลืมตาและหูไม่ได้ยิน

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าลูกสุนัขเมื่อแรกเกิดนั้นจะยังไม่ได้ยินเสียงและมองเห็นเพราะประสาทตาและหูยังทำงานไม่ได้เต็มที่ โดยลูกสุนัขจะเริ่มมองเห็นได้ตอนอายุ 12-14 วัน ส่วนหูจะเริ่มได้ยิน เมื่ออายุได้ 20 วัน ดังนั้นในช่วง 20 วันแรกเราต้องคอยเฝ้าดูลูกสุนัขเป็นพิเศษเพราะช่วงนี้เขาจะยังช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ อาจจะคลานปีนป่ายจนตกหรือถูกทับจากของต่างๆ ได้

3. กินและนอนตลอดทั้งวันไม่ใช่ปัญหา

เชื่อไหมว่าลูกสุนัขอาจจะนอนได้วันละ 18-20 ชั่วโมงเลยทีเดียว โดยเฉพาะช่วง 1 เดือนแรก ลูกสุนัขนอนหลับนานแบบนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติเพราะในระหว่างที่นอนร่างกายของพวกเขาจะพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเจ้าของไม่ต้องกังวลไปถ้าพบว่าลูกสุนัขนอนตลอดทั้งวัน ตื่นมาเพียงแค่ตอนกินเท่านั้น เพราะว่านั่นเป็นเรื่องปกตินั่นเอง

4. จับนิดแตะหน่อย ช่วยเสริมสายสัมพันธ์ระหว่างกันได้

เมื่อลูกสุนัขเริ่มโตขึ้นก็จะเริ่มมีพัฒนาการทางด้านสังคม อาจจะเริ่มตั้งแต่อายุ 6-8 สัปดาห์ ในช่วงนี้ให้เราสัมผัสหรือเล่นเบาๆ กับลูกสุนัขจะช่วยเสริมสายสัมพันธ์ระหว่างเรากับสุนัขให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และช่วยในการพัฒนาการทางด้านสังคมของลูกสุนัขอีกด้วย

5. สอนคำสั่งง่ายๆ ให้กับลูกสุนัข

เมื่อลูกสุนัขอายุได้ประมาณ 6-8 สัปดาห์ ให้ลองฝึกคำสั่งง่ายๆ เช่น การขับถ่ายเป็นที่ เรียกชื่อแล้วหัน ฝึกให้นั่งและคอย การฝึกตอนที่ยังเป็นลูกสุนัขจะฝึกได้ง่ายกว่าและทำให้สุนัขค่อยๆ ปรับตัวกับสังคมของมนุษย์ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ลูกหมาวัยซน

ซึ่งการพบปะในครั้งแรกจะช่วยให้เค้าได้รู้จักปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและรู้จักการผูกมิตร เข้าสังคม แนะนำว่า ค่อย ๆ ให้น้องหมาทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ ไม่ควรทำให้เกิดความหวาดกลัวเพื่อให้เค้ามีประสบการณ์ที่ดี มีความมั่นใจ จะช่วยทำให้น้องหมามีอารมณ์ดี ไม่เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมในอนาคต

10 การฝึกสุนัขและแมวให้มีพฤติกรรมที่ดี

10 การฝึกสุนัขและแมวให้มีพฤติกรรมที่ดี

10 การฝึกสุนัขและแมวให้มีพฤติกรรมที่ดี สารบัญ10 การฝึกสุนัขและแมวให้มีพฤติกรรมที่ดี1. ฝึกการทำความสะอาด2. ฝึกการเดินรอบบ้าน3. ฝึกการยอมรับการตัดขน4. ฝึกการเล่นแบบสุขุม5. ฝึกการเชื่อฟัง6. ฝึกการเล่นกับเล่นแบบบ้านๆ7. ฝึกการตอบสนองกับการเข้ากับคนอื่น8....

read more
11 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกโรงพยาบาลสัตว์

11 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกโรงพยาบาลสัตว์

11 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกโรงพยาบาลสัตว์ สารบัญ11 สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกโรงพยาบาลสัตว์1. ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์2. การบริการ3. ราคา4. มีที่ปรึกษา5. การรักษาความปลอดภัย6. การให้บริการอย่างเป็นระบบ7. สถานที่ใกล้บ้าน8. การให้ความรู้และการฝึก9. การให้บริการตลอด...

read more
สุนัขหรือแมว สัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับเด็ก

สุนัขหรือแมว สัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับเด็ก

สุนัขหรือแมว สัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับเด็ก สารบัญสุนัขหรือแมว สัตว์เลี้ยงที่เหมาะกับเด็กสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสำหรับเด็ก1. ประเภทของสัตว์เลี้ยง2. ความต้องการ3. ค่าใช้จ่าย4. เวลาและความสะดวก5. กฎหมายและข้อกำหนด6. การดูแลสุขภาพ7. การเลี้ยงและการดูแล8....

read more
9 วิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัวของเรา

9 วิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัวของเรา

9 วิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัวของเรา สารบัญ9 วิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัวของเราการเตรียมพร้อมและการดูแลสัตว์เลี้ยงวิธีการทำให้สัตว์เลี้ยงเข้ากับครอบครัว1. เริ่มต้นที่ รักและความเข้าใจ2. การเริ่มต้นการฝึกสอนเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้3....

read more
ควรเลี้ยงสุนัขหรือแมว

ควรเลี้ยงสุนัขหรือแมว

ควรเลี้ยงสุนัขหรือแมว สารบัญควรเลี้ยงสุนัขหรือแมวการเลือกสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสมสำหรับคุณการเลือกสภาพแวดล้อมสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมจัดหาอุปกรณ์และอาหารเลือกสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสมกับสไตล์ชีวิตและบ้านสรุป...

read more
5 การเลี้ยงแมวอย่างถูกต้อง

5 การเลี้ยงแมวอย่างถูกต้อง

5 การเลี้ยงแมวอย่างถูกต้อง สารบัญ5 การเลี้ยงแมวอย่างถูกต้อง1. การเลือกอาหารที่เหมาะสม2. การให้น้ำ3. การให้สถานที่หรือพื้นที่ในการเดินเล่นและการฝึกฝน4. การทำความสะอาดสถานที่อยู่ของแมว5. การดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อม...

read more
10 การเลี้ยงสุนัขที่มีปัญหาสุขภาพ

10 การเลี้ยงสุนัขที่มีปัญหาสุขภาพ

10 การเลี้ยงสุนัขที่มีปัญหาสุขภาพ สารบัญ10 การเลี้ยงสุนัขที่มีปัญหาสุขภาพ1. ปรึกษาสัตวแพทย์2. การเลือกอาหารที่เหมาะสม3. การออกกำลังกาย4. การดูแลสุขอนามัย5. การสังเกตและระวังอาการผิดปกติ6. การให้ความรักและการติดต่อสัมพันธ์7. การเลือกอาหารที่เหมาะสม8....

read more
10 การฝึกสุนัขให้เป็นมิตรและมีวินัย

10 การฝึกสุนัขให้เป็นมิตรและมีวินัย

10 การฝึกสุนัขให้เป็นมิตรและมีวินัย สารบัญ10 การฝึกสุนัขให้เป็นมิตรและมีวินัย1. เริ่มต้นด้วยการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเราเอง2. ใช้การตัดสินใจที่เหมาะสม3. ให้การชี้แนะและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ4. การออกกำลังกาย5. การให้อาหารและน้ำดื่ม6. การเอาสุนัขไปเที่ยว7....

read more
8 วิธีดูแลแมวให้สุขภาพแข็งแรง

8 วิธีดูแลแมวให้สุขภาพแข็งแรง

8 วิธีดูแลแมวให้สุขภาพแข็งแรง สารบัญ8 วิธีดูแลแมวให้สุขภาพแข็งแรง1. ให้แมวอาหารที่เหมาะสม2. ให้น้ำเพียงพอ3. การดูแลสุขอนามัยของแมว4. การจัดสวนหรือการให้พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับแมว6. การทำความสะอาดตัวของแมว7. ตรวจสุขภาพและรักษาโรค8. การให้วิตามินและอาหารเสริม...

read more
6 วิธีดูแลสุนัขอย่างถูกต้อง

6 วิธีดูแลสุนัขอย่างถูกต้อง

6 วิธีดูแลสุนัขอย่างถูกต้อง สารบัญ6 วิธีดูแลสุนัขอย่างถูกต้อง1. การให้อาหารและการเลี้ยง2. การออกกำลังกาย3. การสังเกตพฤติกรรมและสุขภาพของสุนัข4. สิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมรอบตัวของสุนัข5. สุขภาพทางจิตและพัฒนาการของสุนัข6. การสร้างสัมพันธ์และความเชื่อมั่นกับสุนัข...

read more
5 เทคนิค ฝึกสุนัข ง่ายๆ

5 เทคนิค ฝึกสุนัข ง่ายๆ

5 เทคนิค ฝึกสุนัข ง่ายๆ สารบัญ5 เทคนิค ฝึกสุนัข ง่ายๆ1. ฝึกสุนัขให้สุนัขนั่งเริ่มการฝึกโดยสอนสุนัขให้รู้จักนั่งตามคำสั่งกล่าวชมเมื่อสุนัขนั่งลงเปลี่ยนรางวัลเป็นสัญญาณมือทำซ้ำจนกระทั่งสุนัขตอบสนองต่อคำสั่งทุกครั้ง2. สอนสุนัขให้คอยสอนสุนัขให้ "คอย"เริ่มฝึกสุนัขในท่า...

read more
สุนัขพันธุ์ไทย มีอะไรบ้าง

สุนัขพันธุ์ไทย มีอะไรบ้าง

สุนัขพันธุ์ไทย มีอะไรบ้าง สารบัญสุนัขพันธุ์ไทย มีอะไรบ้าง1.สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน2.พันธุ์บางแก้ว สุนัขสายพันธุ์ไทย สำหรับคำว่าสุนัขนั้น เป็นสัตว์เลี้ยงที่ อยู่คู่สำหรับใคร หลายคน ซึ่งเป็นความชอบ ในส่วนตัว ของแต่ล่ะคน ดังนั้น ความชอบของสุนัขนั้น มันมีจุดที่เรียกได้ว่า...

read more

สิวแมว รักษายังไงให้หาย

สิวแมว รักษายังไงให้หาย สารบัญสิวแมว รักษายังไงให้หายเมื่อแมวเป็นสิว  สัญญาณบอกว่าแมวเป็นสิว1. มองหาจุดดำเล็กๆ2. อะไรทำให้แมวเป็นสิวได้บ้าง3. ระวังอย่าให้สิวแมวติดเชื้อ4. สังเกตว่าคางแมวจับแล้วหนาๆ หยาบๆ หรือเปล่า.ตรวจให้แน่...

read more