เลี้ยงแมวยังไงให้อยู่กับเราไปนานๆ

วิธีดูแลสัตว์เลี้ยง, ปัญหาสุขภาพสัตว์เลี้ยง, แมว

เลี้ยงแมวยังไงให้อยู่กับเราไปนานๆ

เลี้ยงแมว

พอแมวใช้ชีวิตอยู่กับเรา ตั้งแต่วันที่เป็นลูกแมวจนมาถึงแมววัยกลางคน ความผูกพันก่อตัวอย่างไม่มีทีท่าจะจางลง มีแต่จะเข้มข้นขึ้นทุกวัน เพราะเข้าใจกันมากขึ้น ฟังกันรู้เรื่องมากขึ้น ระยะห่างของความเป็นแมวกับความเป็นคนน้อยลงเรื่อยๆ แต่ทุกสิ่งมีชีวิตต่างมีอายุขัยของตัวเอง แมวก็เช่นกัน

อายุเฉลี่ยของแมว

อายุเฉลี่ยของแมวแต่ละตัวมีปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องของสายพันธุ์ สาเหตุการเจ็บป่วย และที่อยู่อาศัยของแมว แต่อายุขัยโดยเฉลี่ยของแมวจะอยู่ระหว่าง 15-17 ปี แม้ว่าในความเป็นจริง แมวบางตัวอาจอยู่ไปไม่ถึงขั้นนั้นด้วยเหตุผลนานัปการ แต่ในเวลาเดียวกันก็มีแมวบางตัวมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพแม้จะเลยปีที่ 20 ไปแล้วก็ตาม

เลี้ยงแมวอย่างไรให้อายุยืน

รู้หรือไม่ว่าหากเราดูแลแมวของเราให้มีสุขภาพที่ดี น้องแมวก็มีโอกาสที่จะเป็นแมวอายุยืนถึง 20 ปีได้เลย หัวใจสำคัญในการเลี้ยงแมวให้มีอายุยืนยาวก็ไม่ต้องใช้เคล็ดลับอะไรให้วุ่นวาย เพียงแต่หมั่นดูแลเอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพ อาหารการกินของน้องแมว และพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจเช็คสุขภาพตามที่คุณหมอนัดหมายอย่างต่อเนื่องเท่านั้นเอง แต่เล่าแค่นี้อาจจะยังไม่จุใจ มาติดตามอ่านแล้วไปดูแลแมวให้เป็นแมวอายุยืนไปพร้อมๆ กันด้วยเคล็ด(ไม่)ลับในการเลี้ยงแมวนี้กันดีกว่า

1. เลือกอาหารการกิน

กุญแจสำคัญสำหรับการมีสุขภาพดีของน้องแมวนั้นก็ไม่ต่างจากคน การเลือกอาหารที่มีคุณภาพดีมีสารอาหารครบถ้วนล้วนส่งผลต่อสุขภาพของน้องแมวแสนรักของเราทั้งสิ้น ดังนั้นการเลือกอาหารให้น้องแมวจึงเป็นสิ่งสำคัญ แนะนำให้เลือกอาหารแมวเกรดซุปเปอร์พรีเมี่ยม ที่ได้รับการคิดค้นสูตรอาหารจากทีมสัตวแพทย์ และนักโภชนาการผู้เชี่ยวชาญ คัดสรรจากวัตถุดิบคุณภาพสูง อย่าง Purina ONE ที่นอกจากจะเต็มเปี่ยมไปด้วยความอร่อยถูกปาก และอัดแน่นด้วยสารอาหารจำเป็นครบถ้วนสำหรับน้องแมวแล้ว ยังช่วยดูแลแมวให้มีสุขภาพที่ดี ชะลอความเสื่อมของร่างกาย และมีอายุยืนยาวได้อีกด้วย

2. ดูแลรูปร่าง

เลี้ยงแมวทั้งที ก็ต้องหมั่นดูแลน้องแมวให้ไม่อ้วนจนเกินไป โดยสังเกตได้จากรูปร่างที่สมส่วน ไม่มีพุงห้อยย้อย และไม่อ้วนจนจนมองไม่เห็นสันหลัง น้ำหนักมาตรฐานในน้องแมวจะอยู่ที่ 4.5 กิโลกรัม แต่ในแมวไทยอาจจะบอบบางกว่า น้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 3 กิโลกรัม ส่วนน้องแมวสายพันธุ์ใหญ่อย่างเมนคูณน้ำหนักจะอยู่ที่ประมาณ 11 กิโลกรัม การดูแลรูปร่างไม่ให้อ้วนก็เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดโรคต่างๆ ที่มากับความอ้วน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหากระดูกและข้อ

โรคหัวใจ และโรคทางระบบอื่นๆ ซึ่งวิธีการดูแลน้องแมวให้มีรูปร่างที่สมส่วนก็ทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ให้น้องแมวได้ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 10-15 นาที วันละ 1-2 ครั้ง และให้อาหารในปริมาณที่พอเหมาะ ตามที่ฉลากอาหารข้างถุงระบุเอาไว้ เท่านี้รูปร่างที่ดีเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงก็ไม่ใช่เรื่องยากแล้ว

3. ทำหมัน

การทำหมันทำให้แมวอายุยืนยาวขึ้นกว่าน้องแมวที่ไม่ได้ทำหมันถึง 2 เท่า เพราะการทำหมันจะช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว และการออกเที่ยวนอกบ้าน ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อโรคติดต่ออันตรายที่มาจากการต่อสู้กัน ที่มักจะพบได้มากในน้องแมวที่ฮอร์โมนพลุ่งพล่านที่ยังไม่ได้รับการทำหมันเพื่อแย่งอาณาเขต หรือแย่งน้องแมวตัวเมียนั่นเอง

โดยอายุเฉลี่ยของน้องแมวปกติจะอยู่ที่ 14-16 ปี แต่การทำหมันจะช่วยลดความเสี่ยงของการติดโรคต่างๆ ที่กล่าวมา

และทำให้น้องแมวอายุยืนยาวได้อีกหลายปีเลยทีเดียว ถ้าใครมีลูกแมวอายุราว 4-6 เดือน ก็อย่าลืมพาน้องแมวไปปรึกษาคุณหมอ และตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการทำหมันได้เลย

4. ทำวัคซีน

การทำวัคซีนเป็นการสร้างเกราะป้องกันให้กับร่างกายของน้องแมวจากโรคติดเชื้อร้ายแรงต่างๆ โดยเฉพาะโรคติดต่อที่อาจเป็นอันตรายต่อคนอย่างโรคพิษสุนัขบ้า การทำวัคซีนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องทำ และต้องไปรับการทำวัคซีนเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันเป็นประจำทุกปีตามที่สัตวแพทย์นัดหมาย หรือดูจากตารางนี้ได้เลย

อายุโปรแกรมสุขภาพ
8-9 สัปดาห์วัคซีนรวมป้องกันโรคไข้หัด หวัดแมว ระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก และตาอักเสบ เข็มที่ 1
10-12 สัปดาห์วัคซีนรวมป้องกันโรคไข้หัด หวัดแมว ระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก และตาอักเสบ เข็มที่ 2
วัคซีนป้องกันโรคลิวคีเมียเข็มที่ 1
12 สัปดาห์วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เข็มที่ 1
12-16 สัปดาห์วัคซีนรวมป้องกันโรคไข้หัด หวัดแมว ระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก และตาอักเสบ เข็มที่ 3
วัคซีนป้องกันโรคลิวคีเมียเข็มที่ 2
ทุกปีวัคซีนรวมป้องกันโรคไข้หัด หวัดแมว ระบบทางเดินหายใจ ช่องปาก และตาอักเสบ
วัคซีนป้องกันโรคลิวคีเมีย
วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

5. ป้องกันปรสิต

เรื่องเล็กๆ ที่เจ้าของแมวทุกคนต้องใส่ใจ คือการป้องกันปรสิตตัวร้าย ไม่ว่าจะเป็นหมัด พยาธิภายในทางเดินอาหาร และพยาธิหนอนหัวใจ ปัญหาเหล่านี้เป็นภัยที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทำให้เจ้าของแมวมักละเลยที่จะป้องกัน และก่อโรคอันตรายมากมายในน้องแมว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาแพ้น้ำลายหมัด ขาดสารอาหารจากการมีพยาธิ เกิดโรคพยาธิหนอนหัวใจซึ่งการมีพยาธิหนอนหัวใจในน้องแมวแค่ตัวเดียว ก็อาจเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้น้องแมวเสียชีวิตได้ โดยเจ้าของน้องแมวสามารถพาน้องแมวไปรับการป้องกันพยาธิภายนอก ภายใน และพยาธิหนอนหัวใจได้ตั้งแต่น้องแมวอายุ 6-8 สัปดาห์ และควรทำการป้องกันเป็นประจำอย่างต่อเนื่องตามที่คุณหมอแนะนำ โดยกินยาถ่ายพยาธิภายในทุกๆ 3 เดือน และป้องกันพยาธิภายนอก เช่น หมัดแมว และป้องกันพยาธิหนอนหัวใจโดยใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดหยดหลังเป็นประจำทุกเดือน

อายุของแมวเมื่อนับเป็นปีแบบมนุษย์

เช่นเดียวกับมนุษย์ กระบวนการของความสูงวัยเป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคล และแมวแต่ละตัวก็จะแสดงสัญญาณของความสูงวัยในเวลาที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วร่างกายของแมวจะเริ่มแสดงสัญญาณแรกแห่งความสูงวัยที่ระดับเซลล์ในช่วงอายุเจ็ดปี แต่คุณจะไม่สามารถมองเห็นอาการภายนอกได้จนกว่าแมวของคุณจะอายุประมาณ 12 ปี ตั้งแต่จุดนี้เป็นต้นไป เซลล์ในร่างกายของแมวจะชะลอตัวลงและการทำงานของร่างกายจะมีประสิทธิภาพน้อยลง รวมถึงหัวใจและระบบภูมิคุ้มกันของแมว

สัตวแพทย์ได้จัดกลุ่มอายุแมวไว้ดังนี้

  • แมวโตเต็มวัยเมื่ออายุ 7 ถึง 10 ปี
  • แมวเข้าสู่ช่วงสูงวัยเมื่ออายุ 11 ถึง 14 ปี
  • แมวจะถูกจัดว่าเป็นแมววัยชราเมื่ออายุ 15 ปีขึ้นไป

เมื่อเปรียบเทียบความสูงวัยเป็นจำนวนปีของมนุษย์แล้ว แมวอายุ 10 ปีจะเทียบเท่ากับมนุษย์อายุ 56 ปี ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับแมวที่จะมีชีวิตอยู่ถึง 20 ปี ซึ่งเทียบเท่ากับมนุษย์อายุ 96 ปี

เลี้ยงแมว

สัญญาณของความสูงวัยในแมวของคุณ

แม้ว่าแมวแต่ละตัวจะแสดงสัญญาณของความสูงวัยแตกต่างกัน มีบางอาการของความสูงวัยที่พบบ่อยซึ่งเกิดขึ้นกับแมวทุกตัว การดมกลิ่น รับรส และการได้ยินของแมวจะลดน้อยลง ซึ่งส่งผลต่อความอยากอาหาร นอกจากนี้ แมวยังได้รับผลกระทบจากปัญหาช่องปาก เช่น ฟันสึก โรคเหงือก หรือฟันหลอ การรวมกันของปัญหาเหล่านี้สามารถทำให้น้ำหนักลด

ข้อต่อของแมวมีความยืดหยุ่นน้อยลง โดยเฉพาะหากได้รับผลกระทบจากโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงและปัญหาการเคลื่อนไหว ความยืดหยุ่นนี้ยังส่งผลกระทบต่อความสามารถในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อขนและผิวหนังของแมว

ขนแมวอาจซีดลง และคุณอาจเห็นว่าขนแมวมีคุณภาพลดลงเพราะต่อมไขมันซึ่งผลิตน้ำมันบำรุงสำหรับผิวหนังมีประสิทธิภาพลดลง ความสามารถตามธรรมชาติในการสร้างภูมิคุ้มกันมีแนวโน้มลดลงตามอายุ ทำให้แมวมีความเสี่ยงของการติดเชื้อและเป็นโรค กระบวนการเผาผลาญหลายอย่าง เช่น ระบบย่อยอาหารก็เปลี่ยนไปเช่นกัน โดยความสามารถในการย่อยไขมันและโปรตีนลดลงเมื่อแมวสูงอายุขึ้นเรื่อยๆ

แมวสูงวัยอาจแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงการขาดปฏิสัมพันธ์หรือส่งเสียงในเวลาที่ไม่ได้เข้าสังคม แมวอาจนอนหลับมากขึ้นแต่หลับลึกน้อยลง ซึ่งรบกวนกับกิจวัตรประจำวันและทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรม

อาการของโรคในแมวสูงวัย

บางครั้งอาการเหล่านี้ในแมวที่อายุมากไม่ใช่สัญญาณของการ ‘แก่ขึ้น’ แต่อาจเป็นอาการของปัญหาที่ใหญ่กว่า

แมวมีแนวโน้มที่จะซ่อนอาการแทนที่จะแสดงอาการเจ็บปวดผ่านสัญญาณที่เห็นได้ชัดเจน มีการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมลดลง ซึ่งอาจทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น เช่น การเดินกะเผลก หรือส่งเสียงดัง ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทราบการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของพฤติกรรมแมว เช่น เบื่ออาหาร หรือไม่กระโดดขึ้นไปที่ประจำ หากมีอาการดังกล่าว โปรดพาแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกาย

มีอาการทั่วไปที่ควรระวังในแมวสูงวัยซึ่งอาจบ่งบอกถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่:

  • การเบื่ออาหารหรือน้ำหนักลดอาจบ่งบอกถึงปัญหาการย่อยอาหาร
  • ปัสสาวะหรือกระหายน้ำเพิ่มอาจเป็นสัญญาณของปัญหาที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • เดินกะเผลก หรือลุกยาก อาจเป็นโรคข้ออักเสบ
  • มีความสับสน กังวล หรือแสดงพฤติกรรมผิดปกติ

ด้วยการพบสัตวแพทย์เป็นประจำ คุณจะสามารถตรวจสอบสภาวะร้ายแรงก่อนลุกลาม และทำให้แน่ใจว่าคุณดูแลแมวสูงวัยของคุณอย่างดีที่สุด

แมว

บทความน่าสนใจ โรคสำคัญในแมว ที่สามารถป้องกันได้โดยการทำวัคซีน

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.royalcanin.com

https://www.purina.co.th

https://aorcatclub.com

วิธีเลือก ไดร์เป่าขนสุนัข

วิธีเลือก ไดร์เป่าขนสุนัข

วิธีเลือก ไดร์เป่าขนสุนัข สารบัญวิธีเลือก ไดร์เป่าขนสุนัขวิธีเลือกไดร์เป่าขนสำหรับสัตว์เลี้ยง1. ความเร็วของไดร์เป่าขน2. ความร้อนของไดร์เป่าขน3. ใช้งานง่าย4. อุปกรณ์เสริมไดร์เป่าผมของคน VS ไดร์เป่าขนสัตว์เลี้ยง แตกต่างกันอย่างไร...

read more

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขเก็บเหยื่อ

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขเก็บเหยื่อ สารบัญประวัติสายพันธุ์ สุนัขเก็บเหยื่อประวัติสายพันธุ์ลักษณะนิสัย สุนัขเก็บเหยื่อ หรือ รีทรีฟเวอร์ (อังกฤษ: Retriever) เป็นประเภทของสุนัข (Dog type) ที่เรียกว่าสุนัขล่าเหยื่อที่มีหน้าที่ไปเก็บเหยื่อที่นักล่าสัตว์ล่าได้...

read more
สาเหตุที่ทำให้สุนัขฉี่เป็นเลือด

สาเหตุที่ทำให้สุนัขฉี่เป็นเลือด

สาเหตุที่ทำให้สุนัขฉี่เป็นเลือด สารบัญสาเหตุที่ทำให้สุนัขฉี่เป็นเลือดปัญหาฉี่เป็นเลือดหรือฉี่ปนเลือด  (Hematuria)อาการสำคัญที่เจ้าของต้องสังเกตสาเหตุเป็นอะไรได้บ้าง1. มีสาเหตุจากทางเดินปัสสาวะส่วนบนไตติดเชื้อนิ่วในไตปัญหาจากไตมะเร็งในไต2....

read more
สุนัขห้ามกินอะไรบ้าง 25 อย่าง

สุนัขห้ามกินอะไรบ้าง 25 อย่าง

สุนัขห้ามกินอะไรบ้าง 25 อย่าง สารบัญสุนัขห้ามกินอะไรบ้าง 25 อย่างทำไมสุนัขไม่ควรรับประทานอาหารเหล่านี้1. ช็อกโกแลต 2. องุ่นและลูกเกด 3. หัวหอมและกระเทียม 4. นมวัว เนย เนยแข็ง และผลิตภัณฑ์จากนมวัวทุกชนิด 5. เบคอนและไส้กรอก 6. ตับย่างและเครื่องในย่าง 7....

read more
ยาถ่ายพยาธิสุนัข ควรใช้เมื่อสุนัขมีอาการดังนี้

ยาถ่ายพยาธิสุนัข ควรใช้เมื่อสุนัขมีอาการดังนี้

ยาถ่ายพยาธิสุนัข ควรใช้เมื่อสุนัขมีอาการดังนี้ สารบัญยาถ่ายพยาธิสุนัข...

read more
สุนัขไอแห้งวิธีรักษา

สุนัขไอแห้งวิธีรักษา

สุนัขไอแห้งวิธีรักษา สารบัญสุนัขไอแห้งวิธีรักษาการไอเหมือนมีอะไรติดคอสาเหตุที่ทำให้สุนัขไอแบบมีเสมหะโรคหลอดลมฝอยอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis)การวินิจฉัย การรักษา การรักษาทางยา โรคหลอดลมตีบ (tracheal...

read more
ทรายเต้าหู้แมว ทำมาจากเต้าหู้รึปล่าว

ทรายเต้าหู้แมว ทำมาจากเต้าหู้รึปล่าว

ทรายเต้าหู้แมว ทำมาจากเต้าหู้รึปล่าว สารบัญทรายเต้าหู้แมว ทำมาจากเต้าหู้รึปล่าวทรายแมวเต้าหู้ คืออะไร ?ทรายแมวแบบเต้าหู้ มีคุณสมบัติอย่างไรวิธีการเลือกทรายแมวเต้าหู้1. กลิ่นของทรายแมว2. เช็กให้ดีว่าสามารถทิ้งลงชักโครกได้หรือไม่ ?3. คุณสมบัติในการดูดซับ4....

read more

10 ข้อประโยชน์ของหนวดแมว

10 ข้อประโยชน์ของหนวดแมว สารบัญ10 ข้อประโยชน์ของหนวดแมวหนวดแมวไม่ได้มีไว้แค่ทำให้แมวดูน่ารัก แต่ยังมีประโยชน์ต่อแมวอีกหลายประการ ตั้งแต่ทำหน้าที่เป็นเครื่องวัดระยะ ไปจนช่วยเรื่องการมองระยะใกล้ หนวดเป็นอวัยวะที่น่าทึ่งโดยแท้ทำไมแมวถึงมีหนวด1....

read more
The jungle cat แมวป่านักล่าอันดับ 1 ในป่าใหญ่

The jungle cat แมวป่านักล่าอันดับ 1 ในป่าใหญ่

The jungle cat แมวป่านักล่าอันดับ 1 ในป่าใหญ่ สารบัญThe jungle cat แมวป่านักล่าอันดับ 1 ในป่าใหญ่รูปลักษณ์อุปนิสัยถิ่นที่อยู่อาศัยชีววิทยาภัยที่คุกคามสถานภาพสถานภาพการคุ้มครองประเทศที่ห้ามล่าไม่คุ้มครองนอกพื้นที่อนุรักษ์ มีรูปร่างคล้ายแมวบ้าน...

read more
10 สายพันธุ์แมวที่ทาสมือใหม่ควรรู้

10 สายพันธุ์แมวที่ทาสมือใหม่ควรรู้

10 สายพันธุ์แมวที่ทาสมือใหม่ควรรู้ สารบัญ10 สายพันธุ์แมวที่ทาสมือใหม่ควรรู้สายพันธุ์แมวคืออะไรและมีความสำคัญกับผู้เลี้ยงแมวอย่างไร?ลักษณะพันธุ์แบบใดที่ควรใช้พิจารณาก่อนการรับเลี้ยง?10 สายพันธุ์แมว1. เอ็กโซติกขนสั้น (Exotic Shorthair)2. หางกุดญี่ปุ่น (Japanese...

read more
10 สายพันธุ์ สุนัขล่าเนื้อ ที่ควรรู้จัก

10 สายพันธุ์ สุนัขล่าเนื้อ ที่ควรรู้จัก

10 สายพันธุ์ สุนัขล่าเนื้อ ที่ควรรู้จัก สารบัญ10 สายพันธุ์ สุนัขล่าเนื้อ ที่ควรรู้จักต้นกำเนิดและประวัติสุนัขล่าเนื้อมีสามประเภท โดยมีหลายสายพันธุ์ในแต่ละประเภท ดังนี้10 สายพันธุ์ สุนัขล่าเนื้อ1. บีเกิล (Beagle)2. บาเซนจี (Basenji)3. บลัดฮาวด์ (Bloodhound)4. แด็กซันด์...

read more