สุนัขไอแห้งวิธีรักษา

สุนัขไอแห้งวิธีรักษา

การไอเหมือนมีอะไรติดคอ เป็นอาการหนึ่งที่บ่งบอกว่าน้องหมาอาจกำลังมีเสมหะอยู่ จึงต้องไอแล้วขากออกมาเสมหะของสุนัขเกิดได้จากหลายสาเหตุ มีประโยชน์เพื่อช่วยปกป้องสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย แต่ถ้ามีมากเกินไปก็ทำให้สุนัขหายใจลำบากได้ การรับมือกับการไอแบบมีเสมหะมีหลายวิธีเช่นกัน ทั้งการเคาะปอด (ตบอก) การให้สูดละอองไอน้ำ การพ่นยา และการป้อนยา ซึ่งอาจต้องให้หลายวิธีร่วมกัน

การไอเหมือนมีอะไรติดคอ

เป็นอาการหนึ่งที่พบได้บ่อย แต่เจ้าของส่วนใหญ่มักจะสับสนกับอาการอาเจียน และไม่ทราบว่าสุนัขกำลังไออยู่ เลยอาจคิดไปว่าต้องมีกระดูกหรือก้างติดคอน้องหมาอยู่แน่ ๆ ทั้งที่ความจริงแล้ว สุนัขกำลังไอมีเสมหะอยู่ต่างหาก เวลาน้องหมามีเสมหะในคอ พอเวลาที่ไอแล้ว ก็มักจะทำท่าขาก บางรายก็เล่นใหญ่ ขากแรงปานจะอาเจียนอะไรออกมา แต่กลับไม่มีอะไรออกมาให้เห็น แบบนี้ก็อาจทำให้เจ้าของถึงกับตกใจได้เลย

การขากเสมหะกับการอาเจียนของสุนัขนั้น ถ้าคนที่แยกอาการไม่ออก มองเผิน ๆ แล้วก็อาจจะคล้ายกัน แต่ความจริงแล้วทั้งสองอาการนี้ มีสาเหตุและตำแหน่งรอยโรคแตกต่างกัน อาเจียนนั้นมักเกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร ส่วนการขากเสมหะนั้นมักเกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ เสมหะเกิดจากการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของท่อลม หลอดลม หรือถุงลมในปอด เวลาที่น้องหมาหายใจเอาสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้าไป ร่างกายจึงมีการสร้างเสมหะออกมาเพื่อดักจับไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย จากนั้นจะมีการไอเพื่อขับเอาเสมหะ (expectoration) เหล่านั้นออกมาทางปาก เราเรียกการไอลักษณะนี้ว่า “ไอแบบมีเสมหะ (Productive cough)”  แต่ทว่าเสมหะที่ร่างกายน้องหมาสร้างขึ้นมานี้ มีความเหนียวแน่นพอสมควร ทำให้ขับออกได้ยาก จนบางครั้งเราจึงเห็นว่า น้องหมาไอแล้วทำท่าขากเสมหะจนตัวโก่งคล้ายกับน้องหมากำลังอาเจียนเลย

สาเหตุที่ทำให้สุนัขไอแบบมีเสมหะ

สำหรับโรคที่ทำให้น้องหมามีเสมหะได้นั้น ก็มีอยู่หลายสาเหตุ ทั้งการระคายเคืองจากการสูดดมฝุ่น ควัน สารพิษหรือบุหรี่ที่เจ้าของสูบ เวลาที่เกิดการระคายเคืองร่างกายจะสร้างเมือกหรือเสมหะมาเคลือบเยื่อบุผิวทางเดินหายใจ เพื่อป้องกันอันตรายพร้อมทั้งคอยดักจับฝุ่นควันเหล่านั้นไม่ให้ลงไปยังปอด แต่ถ้าสร้างเสมหะขึ้นมามากเกินไป ก็อาจเกิดการรวมตัวจนเหนียวแน่น ยากที่จะขับออกมาได้ และอาจเป็นตัวที่ไปขัดขวางทางเดินหายใจ ทำให้หายใจลำบากตามมาได้ด้วย 

นอกจากนี้พวกเชื้อโรคต่าง ๆ หรือแม้กระทั้งสารก่อภูมิแพ้ ก็ยังเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเสมหะออกมาได้เช่นกัน เมื่อมีเชื้อโรคหรือสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ทางเดินหายใจ ก็จะทำให้เกิดการอักเสบขึ้นมาได้ พื้นผิวของทางเดินหายใจจะเกิดการหนาตัวขึ้น และมีการสร้างเสมหะเพิ่มขึ้น โดยเชื้อโรคเหล่านี้ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ อย่างโรคที่พบได้บ่อยในสุนัข ได้แก่ โรคหวัด หรือโรคหลอดลมอักเสบติดต่อในสุนัข  โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ โรคปอดอักเสบจากการสำลักอาหารหรือสิ่งแปลกปลอม เป็นต้น

โรคหลอดลมฝอยอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis)

เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สุนัขไอเรื้อรัง สุนัขจะมีอาการไอต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 2 เดือน โดยอาการไอมักเกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่มีช่วงเวลาที่เกิดอาการชัดเจน สาเหตุของหลอดลมฝอยอักเสบเรื้อรัง เกิดจากการอักเสบที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานานในส่วนของหลอดลมฝอยส่วนล่าง ทำให้เกิดการสะสมของเสมหะและสิ่งคัดหลั่ง ซึ่งจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการไอมากขึ้น ส่งผลต่อการทำงานของปอดและท้ายที่สุดอาจกระตุ้นให้เกิดการยุบตัวของหลอดลมฝอยตามมา โรคนี้พบได้มากในสุนัขกลางวัยถึงแก่ และในสุนัขพันธุ์เล็ก พบได้น้อยในสุนัขพันธุ์ใหญ่ พบได้มากในกลุ่มสุนัขที่สัมผัสปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการอักเสบมากขึ้น เช่น ควันบุหรี่ น้ำหอม ฝุ่น ควัน มลพิษทางอากาศ หรือสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองในอากาศ ส่วนมากสุนัขที่เป็นโรคนี้มักไม่แสดงอาการป่วยทางร่างกายอื่น มีเพียงอาการไอต่อเนื่อง อาจพบการเต้นไม่เป็นจังหวะของหัวใจจากอิทธิพลของการหายใจ (respiratory arrhythmia) เมื่อคลำบริเวณลำคอสุนัขมักแสดงอาการไอ สุนัขบางตัวอาจมีเสียงเปลี่ยน หรือเสียงแหบเมื่อเห่า บางตัวอาจมีอาการเป็นลมภายหลังที่เกิดอาการไอ และอาจแสดงอาการเหนื่อยเมื่อทำการทดสอบโดยการเดินในระยะเวลา 6 นาที (6- minutes walk test)

การวินิจฉัย 

สามารถทำได้โดยการตัดโรคอื่น ๆ ที่ทำให้สุนัขไอเรื้อรัง เช่น โรคหลอดลมตีบ เมื่อทำการถ่ายภาพรังสีจะพบผนังหลอดลมฝอยมีลักษณะเป็นฝ้าขาวชัดเจนขึ้น คล้ายรูปโดนัท (donut sign) ในภาพตัดขวางของหลอดลมฝอย และคล้ายทางรถไฟ (tramlines) ในภาพตามแนวยาวของหลอดลมฝอย โดยรายละเอียดความผิดปกติดังกล่าวจะสามารถเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นจากการทำ CT scan การส่องกล้อง (endoscopy) อาจพบผนังหลอดลมฝอยที่มีลักษณะขรุขระ หรือหนาตัวขึ้น อาจพบผนังเยื่อบุที่มีลักษณะบวมแดง และการสะสมของสิ่งคัดหลั่ง ในบางกรณีอาจพบการยุบตัวของหลอดลมฝอยในช่วงหายใจออก เมื่อทำการเก็บตัวอย่างเซลล์จากการทำ bronchoalveolar lavage จะพบเซลล์อักเสบชนิดนิวโทรฟิล ร่วมกับสารคัดหลั่งปริมาณมาก ในบางกรณีอาจพบการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย

การรักษา 

มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อลดการอักเสบที่เกิดขึ้น และลดอาการไอให้น้อยลง สามารถทำได้โดยการลดปัจจัยโน้มนำ คือ สารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองในอากาศต่าง ๆ เช่น ฝุ่น ควัน ควบคุมน้ำหนัก ลดกิจกรรมที่กระตุ้นให้สุนัขเห่า และใช้สายรัดอกแทนปลอกคอ

การรักษาทางยา 

สามารถทำได้โดยการให้ยาลดการอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ เช่น prednisolone ขนาด 1-2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ในรูปแบบการกิน หรืออาจให้ในรูปแบบพ่นทางจมูก ยาขยายหลอดลม เช่น theophylline ซึ่งนอกจากฤทธิ์ในการขยายหลอดลมแล้ว ยังมีฤทธิ์ช่วยลดความล้าของกล้ามเนื้อกระบังลม ช่วยเพิ่มการระบายสิ่งคัดหลัง (mucocillary clearance) และช่วยเสริมฤทธิ์ยากลุ่มสเตียรอยด์ terbutaline เป็นยาขยายหลอดลมที่ให้ผลในการรักษาในสุนัขเช่นกัน แต่อาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการกระวนกระวายในสุนัขบางตัว นอกจากนั้นอาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะในสุนัขบางตัวที่คาดว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน กลุ่มยาที่นิยมให้ ได้แก่ doxycycline azithromycin และ fluoroquinolones ส่วนในกรณีที่มีการไอมากอาจให้ยากลุ่มกดอาการไอร่วมด้วย เช่น codeine

โรคหลอดลมตีบ (tracheal collapse)

พบได้มากในสุนัขกลางวัย โดยเฉพาะในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ยอร์คเชีย เทอร์เรีย พุดเดิ้ล ปั๊ก มอลทิส ชิวาว่า และปอมเมอเรเนียน เป็นต้น ปัจจุบันไม่พบว่าเพศใดจะมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคมากกว่า สาเหตุของโรคเกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนรอบหลอดลม ส่งผลให้เกิดการยุบตัวของผนังทางด้านบนของหลอดลม ปัจจัยที่ส่งเสริมให้สุนัขแสดงอาการทางคลินิก คือสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองในอากาศ โรคหลอดลมฝอยอักเสบเรื้อรัง อัมพาตกล่องเสียง การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ความอ้วน และการสอดท่อหลอดลม เพื่อการวางยาสลบหรือช่วยหายใจ

อาการแสดงทางคลินิกที่พบ ได้แก่ อาการที่สุนัขไอเรื้อรัง สุนัขไอแห้ง กล่าวคือมีลักษณะไอแห้ง เสียงดัง คล้ายเสียงร้องของห่าน (goose honking) อาการไอเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน สุนัขบางตัวอาจแสดงอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน จากปัจจัยโน้มนำ เช่น ความร้อน การตื่นเต้น ความเครียด โรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมกัน ความอ้วน สุนัขอาจแสดงอาการหายใจลำบากในช่วงหายใจเข้า เนื่องจากการยุบตัวของหลอดลมนอกช่องอก (extrathoracic trachea) และ อาการหายใจลำบากในช่วงหายใจออก เนื่องจากการยุบตัวของหลอดลมในช่องอก (intrathoracic trachea) สุนัขอาจมีเสียงหายใจดังคล้ายเสียงกรนหรือเสียงหวีด (wheeze) หลอดลมมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น จึงมักแสดงอาการไอเมื่อคลำ การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยการถ่ายภาพรังสี อย่างไรก็ตาม

การวินิจฉัย

โรคหลอดลมตีบในสุนัขโดยภาพถ่ายรังสีมีข้อจำกัด เนื่องจากการยุบตัวของหลอดลมจะขึ้นอยู่กับช่วงการหายใจ จึงทำให้บางครั้งการคาดคะเนขนาดของหลอดลมอาจคลาดเคลื่อน ซึ่งอาจส่งผลต่อการวินิจฉัยและการบอกความรุนแรงของโรค อย่างไรก็ตามการถ่ายภาพรังสีอาจให้ประโยชน์ในการดูโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นที่ปอดหรือหัวใจได้ การถ่ายภาพรังสีแบบเคลื่อนไหว (fluoroscopy) จึงเป็นวิธีการที่ดีกว่า ที่สามารถช่วยให้เห็นขนาดของหลอดลมในช่วงต่าง ๆ ของการหายใจ โดยไม่จำเป็นต้องทำการสลบสุนัขทั้งตัว อาจใช้เพียงการให้ยาซึม อย่างไรก็ตามวิธีการนี้จะทำให้เห็นเพียงเงาของหลอดลมเป็นภาพ 2 มิติ ส่วนการส่องกล้องจะช่วยในการวินิจฉัยความผิดปกติของทั้งหลอดลมและหลอดลมฝอยได้ รวมทั้งสามารถใช้บอกความรุนแรงของโรค ตำแหน่งที่เกิดการยุบตัว รอยโรคที่เกิดขึ้นภายในหลอดลม อย่างไรก็ตามการตรวจด้วยวิธีนี้มีข้อจำกัดเนื่องจากต้องทำภายใต้การวางยาสลบทั้งตัว ลักษณะการหายใจจึงเป็นการหายใจภายใต้อิทธิพลของยาสลบ

การรักษา 

ในกรณีที่อาการหายใจลำบากรุนแรง ให้ทำการพักสัตว์ให้อยู่ในสภาวะคงที่ก่อนที่จะทำการตรวจวินิจฉัย โดยการให้ออกซิเจน ลดความเครียด ลดอุณหภูมิในสิ่งแวดล้อม สงบสัตว์โดยการให้ยาซึม เช่น ACE promazine ขนาด 0.01-0.03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เข้าทางหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อ หรือ butorphanol 0.05-0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เข้าทางหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อ

การรักษาทางยา 

มีเป้าหมายเพื่อตัดวงจรการอักเสบ สามารถทำการจัดการโดย ควบคุมน้ำหนัก ลดโอกาสสัมผัสสารที่ทำให้เกิดความระคายเคืองทางอากาศ ใช้สายรัดอกแทนปลอกคอ จัดการอาการป่วยอื่น ๆ ที่เป็นร่วมกัน เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งรักษาโรคของทางเดินหายใจส่วนต้นอื่น ๆ เช่น กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจส่วนต้นในสุนัขพันธุ์หน้าสั้น

การจัดการทางยา 

สามารถทำได้โดยให้ยาแก้ไอ เช่น Lomotil (diphenoxylate/atropine) 0.2-0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 12 ชม. Hydroxycordone 0.22 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 6-12 ชม. Codeine 0.5-2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 12 ชั่วโมง Butorphanol 0.5-1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 6-12 ชั่วโมง ให้สเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบ เช่น Prednisolone 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 12 ชั่วโมง โดยการกิน หรือ fluticasone 125-250 ไมโครกรัม ด้วยการพ่น ให้ยาขยายหลอดลมเช่น theophylline หรือ terbutaline และอาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน อาจพิจารณาทำการผ่าตัด หรือใส่ stent เพื่อช่วยขยายขนาดหลอดลม โดยเฉพาะในกรณีที่มีการตีบของหลอดลมค่อนข้างมาก

การติดพยาธิหนอนหัวใจ (Heartworm infestation)

เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้สุนัขไอเรื้อรังได้ จากการที่พยาธิหนอนหัวใจกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบที่ปอด พยาธิหนอนหัวใจติดต่อโดยการที่สุนัขได้รับตัวอ่อนระยะติดโรค (infective stage) หรือ L3 จากการโดนยุงกัด วิธีการวินิจฉัยสามารถทำได้โดยการใช้ชุดทดสอบแอนติเจน เพื่อตรวจแอนติเจนจากพยาธิเพศเมียตัวเต็มวัย และสามารถวินิจฉัยรอยโรคที่ปอดได้โดยการถ่ายภาพรังสี ในกรณีที่มีการติดพยาธิหนอนหัวใจปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการอุดตันของพยาธิในห้องหัวใจ หรืออาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวตามมาได้

เนื่องจากสุนัขทุกตัวมีความเสี่ยงในการติดพยาธิหนอนหัวใจ จึงควรทำการป้องกันการติดพยาธิ โดยการให้ยากลุ่ม Macrocyclic lactones Ivermectin, Selamectin, Milbemycin และ Moxidectin เป็นต้น โดยควรให้ยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามคำแนะนำของผู้ผลิต เพื่อป้องกันการดื้อยาของสุนัขและความล้มเหลวในการป้องกันการติดพยาธิ และควรทำการตรวจแอนติเจนพยาธิหนอนหัวใจด้วยชุดทดสอบเป็นประจำทุกปี

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า การที่สุนัขไอเรื้อรังหรือสุนัขไอแห้งนั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจในสุนัขเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ด้วย หรือหากสุนัขของท่านมีอาการไอ แต่ไม่ได้มีอาการป่วยทางร่างกายอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น สุนัขเบื่ออาหาร ซึม แม้อาการไอของสุนัขอาจดูไม่ร้ายแรง แต่สุนัขก็ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยสัตวแพทย์ เพื่อให้ได้รับการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อลดความรุนแรงของโรค หรือในบางกรณีที่สุนัขไอเพราะเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ข้างต้น เช่น การติดพยาธิหนอนหัวใจ หากรักษาตั้งแต่เริ่มแรกจะสามารถทำให้สุนัขหายขาดจากอาการป่วยได้

การรักษา 

การติดพยาธิหนอนหัวใจ สามารถทำได้โดยการใช้ยาฆ่าพยาธิตัวเต็มวัย คือ Melarsomine dihydrochloride ร่วมกับการใช้ยากลุ่ม macrocyclic lactones เช่น Ivermectin, Selamectin, Milbemycin และ Moxidectin เป็นต้น ในกรณีที่มีปัญหาปอดอักเสบสามารถให้ยากลุ่มสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบ โดยให้ยา Prednisolone 0.5-1 มิลลิกรัม/กิโลกรัมต่อวัน เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และค่อย ๆ ลดขนาดยาลง เมื่ออาการดีขึ้น ในกรณีที่สุนัขมีอาการเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลว จำเป็นต้องได้รับยาเพื่อควบคุมภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้น อาจพิจารณาทำการรักษาแบบทางเลือกในกรณีที่ไม่สามารถให้ยา Melarsomine dihydrochloride ในการกำจัดพยาธิตัวเต็มวัยได้ โดยการให้ยา Doxycycline 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เพื่อกำจัดแบคทีเรีย Wolbachia ที่อาศัยอยู่กับพยาธิแบบพึ่งพา (symbiosis) ร่วมกับการให้ยา Ivermectin หรือ Moxidectin/Imidaclopid เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อชะลอการเจริญเติบโตของพยาธิตัวเต็มวัย และทำให้พยาธิเสียชีวิตเร็วขึ้น

เนื่องจากสุนัขทุกตัวมีความเสี่ยงในการติดพยาธิหนอนหัวใจ จึงควรทำการป้องกันการติดพยาธิ โดยการให้ยากลุ่ม Macrocyclic lactones Ivermectin, Selamectin, Milbemycin และ Moxidectin เป็นต้น โดยควรทำการให้ยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามคำแนะนำของผู้ผลิต เพื่อป้องกันการดื้อยาและความล้มเหลวในการป้องกันในการติดพยาธิ และควรทำการตรวจแอนติเจนพยาธิหนอนหัวใจด้วยชุดทดสอบเป็นประจำทุกปี

สุนัข

การรับมือกับอาการไอแบบมีเสมหะ

โดยธรรมชาติร่างกายมีกลไกในการขับเสมหะอยู่แล้วนั่นก็คือ “การไอ” เพื่อขับออกมาทางปากหรือกลืนลงท้องไป แต่บางครั้งเสมหะนั้นมีจำนวนมากและเหนียวข้นจนยากที่จะขับออกมาได้เอง หรืออยู๋ในส่วนลึก ๆ ไม่สามารถออกมาได้โดยง่าย จะต้องมีวิธีการช่วยเหลือสุนัขครับ

1. การเคาะปอดหรือการตบอก (coupage)

การเคาะปอดเป็นการช่วยทำให้เสมหะที่จับกันเหนียวแน่นเกิดการคลายตัวจากแรงสั่นสะเทือน อีกทั้งยังเป็นการช่วยกระตุ้นให้สุนัขเกิดการไอเพื่อขับเสมหะเหล่านั้นออกมาก วิธีการช่วยเคาะปอดสุนัข เจ้าของสามารถทำได้เองโดย การจัดท่าให้สุนัขยืนหรือนั่งที่ตักหรือข้างตัวเรา แต่ถ้าเป็นสุนัขตัวใหญ่เราอาจต้องยืนคร่อมตัวสุนัข

โดยให้ทำมือทั้งสองข้างเป็นกระพุ้ง (รูปถ้วย) แล้วเคาะลงไปยังบริเวณช่วงอกที่มีซี่โครงทั้งสองข้างของอกพร้อมกันหรือทำที่ละฝั่งก็ได้ โดยลงน้ำหนักพอสมควรเหมือนเราตีกลอง ในส่วนของจังหวะความถี่ที่เคาะนั่นก็สักประมาณ 1-2 ครั้งต่อวินาที ทำเช่นนี้ต่อเนื่องประมาณ 5-10 นาที หากสุนัขแสดงอาการไอ ก็ให้หยุดพักจนกว่าสุนัขจะไอเสร็จแล้วค่อยทำต่อ เราอาจใช้วิธีการเคาะเป็นวงกลมให้ทั่วซี่โครงช่องปอด หรืออาจเคาะไล่จากส่วนท้ายของซี่โครงขึ้นมาด้านหน้าก็ได้

หลังจากเคาะปอดเสร็จแล้วก็ปล่อยให้น้องหมาเดินเล่น เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวร่างกาย สุนัขจะได้ไอเพื่อขับเสมหะออกมา เราสามารถทำการเคาะปอดให้น้องหมาได้ทุก ๆ 6-8 ชั่วโมง (วันละ 3-4 ครั้ง) ขึ้นอยู่กับอาการของน้องหมา แต่ห้ามเคาะปอดหลังจากสุนัขกินข้าวอิ้มใหม่ ๆ  ให้รออย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงหลังจากกินอิ่มแล้วจึงค่อยทำ เพื่อป้องกันความปลอดภัยจากการสำลักอาหาร และต้องระวังในรายที่มีเนื้องอกหรือมะเร็งในปอด

2. การใช้ละอองไอน้ำ (Steam inhalation)

วิธีนี้เป็นการใช้ละอองไอน้ำไปช่วยความชุ่มชื่นให้กับปอด เพื่อให้เสมหะที่จับตัวกันแน่นอ่อนตัวลง จะได้ง่ายในการขับออกมาผ่านการไอ โดยให้สุนัขดมละอองไอน้ำ วิธีการก็คือ ให้เจ้าของพาสุนัขไปอยู่ในห้องน้ำ ปิดห้องน้ำ (ประตูและหน้าต่าง) และปิดพัดลมดูดอากาศ โดยที่เจ้าของต้องอยู่กับสุนัขด้วย เพื่อไม่ให้สุนัขตื่นตกใจ จากนั้นเปิดน้ำอุ่นหรือเปิดน้ำอุ่นจากฝักบัว เพื่อให้เกิดไอน้ำสะสมภายในห้องน้ำ เพื่อให้สุนัขได้สูดดมละอองไอน้ำเป็นเวลา 10-15 นาที เราต้องการให้สุนัขแค่สูดดมละอองไอน้ำเท่านั้น เพื่อไปช่วยให้เสมหะถูกขับออกมาได้ง่าย หลังจากสูดดมไอน้ำเสร็จแล้ว ให้เจ้าของเช็ดละอองน้ำบนตัวสุนัขให้แห้ง แล้วทำการเคาะปอดให้ เพื่อกระตุ้นให้สุนัขไอเพื่อขับเสมหะออกมา

3 การพ่นยา (Nebulization)

เป็นวิธีการใช้เครื่องมือ (เครื่องพ่นยา) เพื่อนำพาของเหลวหรือยาผ่านก๊าซ แล้วให้สุนัขสูดดมเข้าสู่ปอดโดยตรงเลย วิธีนี้เจ้าของอาจต้องพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยก่อน เพราะมีความจำเป็นต้องมีการเลือกใช้ยาในการรักษา อุปกรณ์ที่สำคัญ คือ คือเครื่องพ่นยา (nebulizer) ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทำให้ได้ขนาดของละลองยาออกมาที่ต่างกันไป แต่ถ้าได้ละอองยาขนาดเล็ก ๆ ก็จะทำให้ยาลงสู่ทางเดินหายใจชั้นลึก ๆ ได้ดีขึ้น ข้อดีของการพ่นยาคือ ยาเข้าสู่เป้าหมายในปอดได้โดยตรง ไม่ผ่านตับ ลดผลข้างเคียงบางอย่างลงได้ โดยเราอาจจะให้สุนัขอยู่ในตู้หรือให้สุนัขดมผ่านหน้ากาก เพื่อให้สุนัขได้สูดดมยาได้อย่างเต็มที่ จะใช้ระยะเวลาในการพ่นยาครั้งละ 15-20 นาที หลังจากพ่นยาเสร็จแล้ว ทำการเช็ดตัวสุนัขให้แห้ง เพื่อป้องกันยาที่อาจตกค้างอยู่บนตัวสุนัข ป้องกันสุนัขเลียและลดการรับยาเข้าสู่ระบบร่างกาย แล้วให้ทำการเคาะปอดให้ เพื่อกระตุ้นให้สุนัขไอขับเสมหะออกมา 

4 การป้อนยา (Medicine)

เสมหะของสุนัขนั้นมีความจำเพาะอย่างหนึ่งคือ การยึดเกาะกันที่เหนียวแน่นมากด้วยพันธะ disulfide bonds บางครั้งถ้าใช้ละอองไอน้ำหรือ Saline solution เพียงอย่างดียว อาจไม่สามารถสลายเสมหะได้ เมื่อมีสะสมมากเกาะกันจนไปบดบังทางเดินหายใจ ก็ทำให้หายใจลำบากได้ จำเป็นจะต้องใช้ยาละลายเสมหะเข้าช่วย ซึ่งยาละลายเสมหะที่ใช้ในสุนัขก็มีหลายตัวยาด้วยกัน มีทั้งรูปแบบกินและใช้พ่นยาด้วย ในส่วนของรูปแบบกินนั้นก็มีทั้งยาในรูปแบบเม็ดและแบบน้ำ ซึ่งคุณหมอจะคำนวณขนาดยาตามน้ำหนักตัวของสุนัข ส่วนมากจะแนะนำให้เจ้าของป้อนให้สุนัขวันละ 2-3 ครั้ง นอกจากนี้ยังอาจมียาอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องจ่ายให้ด้วยอีก ขึ้นกับสาเหตุที่สุนัขป่วย ดังนั้นก่อนได้รับยาใด ๆ จึงควรต้องพาสุนัขไปตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคเสียก่อน ไม่ควรไปซื้อยามาป้อนเอง

หมาป่วย

อาการไอ ในสุนัขที่ไม่มีอาการป่วยทางร่างกายอื่น ๆ เช่น อาการซึม เบื่ออาหาร อาจดูไม่ร้ายแรง แต่ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยสัตวแพทย์ เพื่อให้ได้รับการจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อลดความรุนแรงของโรค หรือในบางกรณีเช่น การติดพยาธิหนอนหัวใจ หากรักษาตั้งแต่เริ่มแรกจะสามารถทำให้สุนัขหายขาดจากอาการป่วยได้

บทความน่าสนใจ 4 โรคจากสุนัข ที่คุณอาจจะได้รับ

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://ghost.vetbuddyexpert.com

https://yourpetheart.com

https://www.dogilike.com

https://www.ivethospital.com

วิธีเลือก ไดร์เป่าขนสุนัข

วิธีเลือก ไดร์เป่าขนสุนัข

วิธีเลือก ไดร์เป่าขนสุนัข สารบัญวิธีเลือก ไดร์เป่าขนสุนัขวิธีเลือกไดร์เป่าขนสำหรับสัตว์เลี้ยง1. ความเร็วของไดร์เป่าขน2. ความร้อนของไดร์เป่าขน3. ใช้งานง่าย4. อุปกรณ์เสริมไดร์เป่าผมของคน VS ไดร์เป่าขนสัตว์เลี้ยง แตกต่างกันอย่างไร...

read more

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขเก็บเหยื่อ

ประวัติสายพันธุ์ สุนัขเก็บเหยื่อ สารบัญประวัติสายพันธุ์ สุนัขเก็บเหยื่อประวัติสายพันธุ์ลักษณะนิสัย สุนัขเก็บเหยื่อ หรือ รีทรีฟเวอร์ (อังกฤษ: Retriever) เป็นประเภทของสุนัข (Dog type) ที่เรียกว่าสุนัขล่าเหยื่อที่มีหน้าที่ไปเก็บเหยื่อที่นักล่าสัตว์ล่าได้...

read more
สาเหตุที่ทำให้สุนัขฉี่เป็นเลือด

สาเหตุที่ทำให้สุนัขฉี่เป็นเลือด

สาเหตุที่ทำให้สุนัขฉี่เป็นเลือด สารบัญสาเหตุที่ทำให้สุนัขฉี่เป็นเลือดปัญหาฉี่เป็นเลือดหรือฉี่ปนเลือด  (Hematuria)อาการสำคัญที่เจ้าของต้องสังเกตสาเหตุเป็นอะไรได้บ้าง1. มีสาเหตุจากทางเดินปัสสาวะส่วนบนไตติดเชื้อนิ่วในไตปัญหาจากไตมะเร็งในไต2....

read more
สุนัขห้ามกินอะไรบ้าง 25 อย่าง

สุนัขห้ามกินอะไรบ้าง 25 อย่าง

สุนัขห้ามกินอะไรบ้าง 25 อย่าง สารบัญสุนัขห้ามกินอะไรบ้าง 25 อย่างทำไมสุนัขไม่ควรรับประทานอาหารเหล่านี้1. ช็อกโกแลต 2. องุ่นและลูกเกด 3. หัวหอมและกระเทียม 4. นมวัว เนย เนยแข็ง และผลิตภัณฑ์จากนมวัวทุกชนิด 5. เบคอนและไส้กรอก 6. ตับย่างและเครื่องในย่าง 7....

read more
ยาถ่ายพยาธิสุนัข ควรใช้เมื่อสุนัขมีอาการดังนี้

ยาถ่ายพยาธิสุนัข ควรใช้เมื่อสุนัขมีอาการดังนี้

ยาถ่ายพยาธิสุนัข ควรใช้เมื่อสุนัขมีอาการดังนี้ สารบัญยาถ่ายพยาธิสุนัข...

read more
ทรายเต้าหู้แมว ทำมาจากเต้าหู้รึปล่าว

ทรายเต้าหู้แมว ทำมาจากเต้าหู้รึปล่าว

ทรายเต้าหู้แมว ทำมาจากเต้าหู้รึปล่าว สารบัญทรายเต้าหู้แมว ทำมาจากเต้าหู้รึปล่าวทรายแมวเต้าหู้ คืออะไร ?ทรายแมวแบบเต้าหู้ มีคุณสมบัติอย่างไรวิธีการเลือกทรายแมวเต้าหู้1. กลิ่นของทรายแมว2. เช็กให้ดีว่าสามารถทิ้งลงชักโครกได้หรือไม่ ?3. คุณสมบัติในการดูดซับ4....

read more

10 ข้อประโยชน์ของหนวดแมว

10 ข้อประโยชน์ของหนวดแมว สารบัญ10 ข้อประโยชน์ของหนวดแมวหนวดแมวไม่ได้มีไว้แค่ทำให้แมวดูน่ารัก แต่ยังมีประโยชน์ต่อแมวอีกหลายประการ ตั้งแต่ทำหน้าที่เป็นเครื่องวัดระยะ ไปจนช่วยเรื่องการมองระยะใกล้ หนวดเป็นอวัยวะที่น่าทึ่งโดยแท้ทำไมแมวถึงมีหนวด1....

read more
เลี้ยงแมวยังไงให้อยู่กับเราไปนานๆ

เลี้ยงแมวยังไงให้อยู่กับเราไปนานๆ

เลี้ยงแมวยังไงให้อยู่กับเราไปนานๆ สารบัญเลี้ยงแมวยังไงให้อยู่กับเราไปนานๆอายุเฉลี่ยของแมวเลี้ยงแมวอย่างไรให้อายุยืน1. เลือกอาหารการกิน2. ดูแลรูปร่าง3. ทำหมัน4. ทำวัคซีน5. ป้องกันปรสิตอายุของแมวเมื่อนับเป็นปีแบบมนุษย์สัญญาณของความสูงวัยในแมวของคุณอาการของโรคในแมวสูงวัย...

read more
The jungle cat แมวป่านักล่าอันดับ 1 ในป่าใหญ่

The jungle cat แมวป่านักล่าอันดับ 1 ในป่าใหญ่

The jungle cat แมวป่านักล่าอันดับ 1 ในป่าใหญ่ สารบัญThe jungle cat แมวป่านักล่าอันดับ 1 ในป่าใหญ่รูปลักษณ์อุปนิสัยถิ่นที่อยู่อาศัยชีววิทยาภัยที่คุกคามสถานภาพสถานภาพการคุ้มครองประเทศที่ห้ามล่าไม่คุ้มครองนอกพื้นที่อนุรักษ์ มีรูปร่างคล้ายแมวบ้าน...

read more
10 สายพันธุ์แมวที่ทาสมือใหม่ควรรู้

10 สายพันธุ์แมวที่ทาสมือใหม่ควรรู้

10 สายพันธุ์แมวที่ทาสมือใหม่ควรรู้ สารบัญ10 สายพันธุ์แมวที่ทาสมือใหม่ควรรู้สายพันธุ์แมวคืออะไรและมีความสำคัญกับผู้เลี้ยงแมวอย่างไร?ลักษณะพันธุ์แบบใดที่ควรใช้พิจารณาก่อนการรับเลี้ยง?10 สายพันธุ์แมว1. เอ็กโซติกขนสั้น (Exotic Shorthair)2. หางกุดญี่ปุ่น (Japanese...

read more
10 สายพันธุ์ สุนัขล่าเนื้อ ที่ควรรู้จัก

10 สายพันธุ์ สุนัขล่าเนื้อ ที่ควรรู้จัก

10 สายพันธุ์ สุนัขล่าเนื้อ ที่ควรรู้จัก สารบัญ10 สายพันธุ์ สุนัขล่าเนื้อ ที่ควรรู้จักต้นกำเนิดและประวัติสุนัขล่าเนื้อมีสามประเภท โดยมีหลายสายพันธุ์ในแต่ละประเภท ดังนี้10 สายพันธุ์ สุนัขล่าเนื้อ1. บีเกิล (Beagle)2. บาเซนจี (Basenji)3. บลัดฮาวด์ (Bloodhound)4. แด็กซันด์...

read more